การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร ไกรนรา 10510

คำสำคัญ:

การได้มา, สมาชิกวุฒิสภา, รัฐธรรมนูญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยใช้กรอบการศึกษาตามแนวคิดการเลือกตั้งในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยประกอบกับการศึกษา การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พบว่า สมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้วุฒิสภาแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา โดยในช่วงเวลาแรกจะเป็นไปตามบทเฉพาะกาลได้กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วย จำนวน 250 คน ที่มาจากการสรรหา และช่วงที่ 2 ให้วุฒิสภาที่ประกอบไปด้วยสมาชิก จำนวน 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งบุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ในลักษณะของสาขาอาชีพ และลักษณะที่หวังผลประโยชน์ หรือทำงานด้านต่าง ๆ ร่วมกันที่มีความหลากหลายในสังคม โดยสมาชิกวุฒิสภาจะมีหน้าที่และอำนาจในการกลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบรัฐบาลในฐานะรัฐสภา โดยวุฒิสภาจะมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งวุฒิสภาดังกล่าวไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนแต่กลับมีอำนาจเทียบเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากประชาชน

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). รายงานผลการออกเสียงประชามติ

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559. ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2567 จาก

https://www.msociety.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/17586/19908.pdf

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2543). หลักพื้นฐานของสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพวิญูชน.

ภูมิ มูลศิลป์. (2564). บทบาทอํานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10(3), 306-318.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2542). การเลือกตั้งในรัฐเสรีประชาธิปไตย. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 1(3), 95-96.

แดนชัย ไชวิเศษ. (2560). สมาชิกวุฒิสภา 250 คน มาอย่างไรและทำอะไร. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (2556). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

พระมหาเรวัฒ อคฺคาทโร. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัฒนรัตน์ พุทธิพรกิตติคุณ. (2560). พัฒนาการรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 3(1), 208-213.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา.

เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.

วิษณุ เครืองาม. (2556). การตัดสินใจในรูปคณะกรรมการภารรัฐ. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 38(2)

หน้า 105.

สมคิด เลิศไพฑูรย์ (2548). กฎหมายรัฐธรรมนูญ: หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อานันท์ เกียรติสารพิภพ. (2561). หลักการแบ่งแยกอำนาจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ

สภาผู้แทนราษฎร.

อรุณ ขยันหา. (2559). จากการปรับทัศนคติสู่วิกฤตการณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27