ความร่วมมือนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและไทยในยุคลินดอน บี. จอห์นสัน และจอมพลถนอม กิตติขจร ช่วงทศวรรษ 1960
คำสำคัญ:
ฉันทามติแห่งเสรีนิยม, นโยบายการสร้างสังคมที่ยิ่งใหญ่, นโยบายการพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน, ลินดอน บี. จอห์นสัน, ถนอม กิตติขจรบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความร่วมมือระหว่างการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและไทยในช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คือ ลินดอน บี. จอห์นสัน (ค.ศ. 1963-1969) และนายกรัฐมนตรีของไทย คือ จอมพลถนอม กิตติขจร (ค.ศ. 1963-1973) เป็นช่วงเวลาที่สหรัฐอเมริกานำนโยบายทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า นโยบายการสร้างสังคมที่ยิ่งใหญ่ ส่วนไทยเป็นยุคการพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมขั้นพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวนมากจากสหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอยู่บนพื้นฐานของฉันทามติแห่งเสรีนิยมและการพัฒนา เป็นสำคัญ แม้ว่าในช่วงทศวรรษ 1960 ไทยจะปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร ส่วนสหรัฐอเมริกาเป็นตัวแทนของฝ่ายเสรีประชาธิปไตย แต่สหรัฐอเมริกาไม่สนใจว่ารัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร จะมีรูปแบบการปกครองเป็นแบบใด ถ้าสามารถอำนวยความสะดวกให้เข้ามาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานได้ รวมถึงเป็นพันธมิตรในการสกัดกั้นภัยคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาพร้อมยินดีให้การช่วยเหลือและสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาในการแสวงหาพันธมิตรในประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่จำเป็นจะต้องมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้ามีนโยบายทางเศรษฐกิจที่เปิดเสรีและสกัดกั้นภัยคอมมิวนิสต์แล้วก็สามารถที่จะเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาได้ อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและไทยในช่วงเวลาดังกล่าวต้องลดระดับลง เป็นผลมาจากการที่สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม และภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องลดการสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานแก่ไทย รวมถึงสนับสนุนให้มีการจัดเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1969 เพื่อพัฒนาการเมืองไทยให้เข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยภายหลังที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารมาอย่างยาวนาน
References
กุลลดา เกษบุญชู มี้ด. (2550). การเมืองไทยในยุคสฤษดิ์-ถนอม ภายใต้โครงสร้างอำนาจโลก. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย.
จักรี ไชยพินิจ. (2557). “ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาของวอลท์ วิทแมน รอสตาวกับบทบาทของประเทศ
มหาอำนาจ: ข้อถกเถียงเชิงปรัชญาสังคมศาสตร์.” วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย 6,1 (มกราคม-เมษายน): 237-273.
จักรี ไชยพินิจ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐพล ใจจริง. (2563). ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของ
สหรัฐอเมริกา 2491-2500. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
แถมสุข นุ่มนนท์. (2525). ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกาภายหลังสงคราโลกครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2552). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2566). เนื้อในระบอบถนอม: ความสืบเนื่องและเสื่อมถอยของเผด็จ
การทหาร พ.ศ 2506 ถึง 2516. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
นิรมล สุธรรมกิจ. (2551). สังคมกับเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาประเทศไทย (พ.ศ. 2500-2545). กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2556). และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ : การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและ
ปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
ปิยะภพ เอนกทวีกุล. (2567). ทหารกับการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์. (2566). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 6.
เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม
พวงทอง ภวัครพันธ์. (2556). สงครามเวียดนาม: สงครามกับความจริงของ “รัฐไทย.” พิมพ์ครั้งที่ 2
กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
พวงทอง ภวัครพันธ์. (2561). การต่างประเทศไทยในยุคสงครามเย็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2558). กำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้เผด็จการ. กรุงเทพฯ: มติชน.
ภูริ ฟูวงศ์เจริญ. (2563). การเมืองการปกครองไทย : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2475-
. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มัสแคต, โรเบิร์ต เจ. (2536). สหรัฐอเมริกากับการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงในประเทศไทย.
แปลจาก Thailand and the United States : Development, Security, and Foreign Aid. แปลโดย กุสุมาลย์ รชตะนันทน์, สัญฉวี สายบัว และติระพร บุนนาค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2550). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิวัฒน์ มุ่งการดี. (2533). นโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกา: โครงสร้าง กระบวนการ และรูปแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมร นิติทัณฑ์ประภาศ. (2553). ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1945- ปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สรวิศ ชัยนาม. (2552). จักรวรรดิอเมริกา : ประวัติศาสตร์แบบทวนกระแส อัตลักษณ์ ชีวอำนาจ.
กรุงเทพฯ: ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2551). สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี. เพรส.
สุรัตน์ โหราชัยกุล. (2546). “นโยบาย ‘อภิมหาสังคม’ ของประธานาธิบดีจอห์นสัน : บทเรียนสำหรับการ
เมืองไทยในการแก้ไขปัญหาความยากจน.” วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 34,1 (มกราคม-มิถุนายน): 154-208.
อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2555). ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองยุคปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อภิชาต สถิตนิรามัย. (2556). รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ จากกำเนิดทุนนิยมนายธนาคารถึงวิกฤต
เศรษฐกิจ 2540. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์. (2526). สหรัฐอเมริกากับนโยบายเศรษฐกิจไทย (1960-1970). (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, ภาคความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ.
อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์. (2543). การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทสหรัฐอเมริกาต่อการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจไทย: 1960 และ 1990. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
Berger, M. (2004). The Battle for Asia: From Decolonization to Globalization. London
and New York: RoutledgeCurzon.
Bumrungsuk, S. (1985). United States foreign policy and Thai military rule, 1947-1977.
(Master’s Thesis). Cornell University, Faculty of the Graduate School.
Burns, J. M. (ed). (1968). The Heal and To Build: The Programs of President Lyndon B.
Johnson. New York: McGraw-Hill.
Divine, R. (1979). Since 1945: Politics and Diplomacy in Recent American History. 2nd
ed. New Jersey: John Wiley & Sons.
Fineman, D. (1997). A Special Relationship: The United States and Military
Government in Thailand, 1947-1958. Hawaii: University of Hawaii Press.
Gowan, P. (1999). The Global Gambel. London: Verso.
Maland, C. (1979). “Dr. Strangelove (1964): Nightmare Comedy and the Ideology of Liberal Consensus.” American Quarterly Special Issue: Film and American
Studies 31,5: 697-700.
Rist, G. (2014). The History of Development: From Western Origins to Global Faith.
th ed. London: Zed Books.
Rostow, W. W. (1971). Politics and the Stages of Growth. Cambridge: Cambridge
University Press.
Schulman, B. J. (1995). Lyndon B. Johnson and American Liberalism: A Brief
Biography with Documents. New York: St. Martin’s Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทัศนะและข้อคิดเห็นจาก บทความในวารสารเป็นของผู้เขียน ไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำและศูนย์การเมือง สังคม และอาณาบริเวณศึกษา การนำบทความในวารสารไปตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจาก กองบรรณาธิการ