สถานการณ์ธุรกิจเพื่อสังคมภายใต้บริบททุนทางสังคมในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กาญจนา สมมิตร

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ 4 ด้านที่ก่อให้เกิดทุนทางสังคมที่มีผลต่อการพัฒนา กลุ่มธุรกิจเพื่อสังคมในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อสำรวจสถานการณ์ของธุรกิจเพื่อสังคม และวิเคราะห์ ผลการดำเนินงานของธุรกิจเพื่อสังคม ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมจากกลุ่มตัวอย่างผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน และผู้นำและคณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาพบว่าทุนทางสังคมที่สำคัญที่ก่อให้เกิดธุรกิจ เพื่อสังคม ได้แก่ 1) ทุนทางวัฒนธรรม ที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันในชุมชนเป็นพื้นฐาน 2) ทุนทางด้านผู้นำ ที่มีความรู้ มีความเสียสละ และจิตสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 3) ทุนทางด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ภายใต้บริบทของคนในชุมชน ที่กลายมาเป็นนวัตกรรมทางสังคมในรูปแบบของนวัตกรรมการจัดการที่มาจากการ มีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่มทุกคน 4) ทุนทางด้านปัจจัยเครือข่ายสนับสนุนภายนอก อันได้แก่หน่วยงานภาครัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันการศึกษาเป็นต้น จากทุนทางสังคมทั้ง 4 ด้านดังกล่าวได้ก่อให้เกิด กลุ่มธุรกิจเพื่อสังคมโดยสามารถจัดเป็นหมวดหมู่ตามประเภทกิจการได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรและการแปรรูป การเกษตร 2) กลุ่มออมทรัพย์ และร้านค้าชุมชน 3) กลุ่มสิ่งแวดล้อม จากการวิเคราะห์ตามโครงสร้างกลุ่มธุรกิจ เพื่อสังคม พบกลุ่มระยะเร่ิมต้น กลุ่มกำลังพัฒนา และกลุ่มต้นแบบ โดยกลุ่มระยะเริ่มต้นยังมีปัญหา และความต้องการ ขั้นพื้นฐานค่อนข้างมาก ส่วนกลุ่มกำลังพัฒนานั้น มีความต้องการในการขยายและปรับปรุงกิจการ และกลุ่มต้นแบบเป็นกลุ่มซึ่งสามารถดำเนินกิจการของตนในระดับดีแล้ว และเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มอื่นได้ มีความต้องการต่อยอดไปสู่กิจการอื่นต่อไป ดังนั้นการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจเพื่อสังคมควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดทุนทางสังคมทั้ง 4 ด้าน อันเป็นต้นทุนที่สำคัญในการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมต่อไป

 

The objectives of this research were to analyze the four components of social capitals that promote social business ventures and to explore social business ventures situation and analyze their performance in Hang Dong District, Chiang Mai. The qualitative research method was employed in this study. Data were collected from a sample of community leaders, village board, leader of community enterprise and community enterprise comittee in Hang Dong District by group interviews, in-depth interviews and participatory observation. The study results reveal key social capitals that help initiate a social business as follow: 1) Local culture that binds people on the basis of generosity and trust; 2) Knowledgeable leaders who have public mind and sacrifice themselves to work for the community; 3) Good management practices that are derived from the participation of community members in the management 4) Good supporter networks , including government organizations, local administrators and educational institutes. The four elements of social capital have initiated social business ventures in Hang Dong, which can be divided into three groups: 1) Agricultural processing 2) Savings and Community Store and 3) Environmental group. Each group can be put into beginner group, developing group, and model group, according to the analysis of business structure. The beginner group seemed to have a lot of basic problems and needs. The developing group needed helps in terms of production capacity and business improvement. The model group could be considered a good business model for other groups to study, but they also wanted to expand their businesses to other activities. Therefore, to enhance social business ventures, the four elements of social capital should be promoted in order to develop the social businesses in the area.

Article Details

Section
Research Articles