การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
- The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
- Where available, URLs for the references have been provided.
- The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
- The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
คำแนะนำผู้แต่ง
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ ความรู้ทางวิชาการและผลงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กำหนดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ อาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัยทุกท่านสามารถส่งบทความได้ หรือ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเท่านั้น ผลงานที่ได้รับพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารจะต้องมีสาระน่าสนใจ เป็นงานที่ทบทวนความรู้เดิม หรือองค์ความรู้ ใหม่ที่ทันสมัย รวมทั้งข้อคิดเห็นทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และจะต้องเป็นงานที่ไม่เคยเผยแพร่ใน
วารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น บทความอาจ ถูกดัดแปลง แก้ไขเนื้อหา รูปแบบ และสำนวน ตามที่กองบรรณาธิการเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้วารสารมี คุณภาพในระดับมาตรฐานสากลและสามารถนำไปอ้างอิงได้
ขอบเขตการรับตีพิมพ์บทความ
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี รับตีพิมพ์เผยแพร่ บทความในสาขาวิชา การพัฒนาชุมชน ดนตรีนาฏศิลป์และการละคร ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ ศิลปกรรม การท่องเที่ยวและการบริการ ธุรกิจโรงแรม การปกครอง ท้องถิ่น บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาการบริหารการพัฒนาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์การพัฒนา ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การศึกษา และบทความที่เกี่ยวข้องกับด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
วาระการตีพิมพ์
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีมีวาระการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม-มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม)
การเตรียมต้นฉบับ
1. ภาษา ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสภา ให้หลีกเลี่ยงการเขียนภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่นศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีคำแปล หรือคำที่ใช้แล้วเข้าใจง่ายขึ้น คำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และคำบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) และบทความภาษาอังกฤษต้องได้รับเอกสารการรับรองความถูกต้องด้านการใช้ภาษาจากผู้เชี่ยวชาญ
2. ขนาด กระดาษขนาด A4 (8.5 x 11นิ้ว) ระยะขอบบน 2.22 ซม และขอบซ้าย 2.54 ซม ระยะขอบล่าง 1.75 ซม และขอบขวา 2.54 ซม ระยะห่างบรรทัดใช้ Single space จัดเป็นคอลัมภ์เดียว
3. ชนิดและขนาดตัวอักษร ตัวอักษรชนิด TH SarabunPSK ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. การส่งบทความ สมัครสมาชิก และส่งบทความเข้าระบบ Thaijo ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ฯ ที่ www.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/index
5. จำนวนหน้า รวมเนื้อหา ภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง มีความยาวไม่เกิน 16 หน้า
6. รูปภาพ ใช้ไฟล์นามสกุล .jps หรือ jpeg แนบมาพร้อมบทความ
ประเภทของบทความ
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สามารถส่งบทความได้ 3 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ดังนี้
- บทความวิจัย ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
1.1 ชื่อเรื่อง (Title) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ขึ้นต้นด้วย ตัวพิมพ์ใหญ่ ยกเว้น คำนำหน้านาม (Articles) คำบุพบท (Prepositions) ชื่อเรื่องสั้น กะทัดรัด ไม่ใช้คำย่อ ไม่เกิน 100 คำ (ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา)
1.2 ชื่อผู้นิพนธ์ (Author) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ต้องมีคำนำหน้านามและใส่ เครื่องหมาย* ที่ชื่อผู้ประสานงานหลัก (ตัวอักษรขนาด 14 ตัวปกติ)
1.3 ตำแหน่งและสังกัด (Position and Affiliation) ไม่ต้องระบุที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ และระบุ E-mail ของผู้ประสานงานหลักโดยไม่มีคำว่า E-mail (ตัวอักษรขนาด 14 ตัวปกติ)
1.4 บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เขียนสรุปสาระสำคัญของเรื่องใช้ ภาษากระชับความยาวไม่เกิน 250 – 300 คำ (หัวข้อตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนาเนื้อหาตัวอักษรขนาด 15 ตัวปกติ)
1.5 คำสำคัญ (Keywords) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่เกิน 5 คำ (หัวข้อตัวอักษรขนาด 15 ตัวหนาเนื้อหาตัวอักษรขนาด 15 ตัวปกติ)
1.6 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของความเป็นมา เหตุผล และความสำคัญที่นำไปสู่การ วิจัย (หัวข้อตัวอักษรขนาด 15 ตัวหนาเนื้อหาตัวอักษรขนาด 15 ตัวปกติ)
1.7 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) ระบุเป็นลำดับข้อ
1.8 วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology) ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง วิธีสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการ ดำเนินการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลข้อมูล
1.9 ผลการวิจัย (Results) รายงานข้อมูลตามวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนถ้าผลซับซ้อนควรใช้ ตารางหรือแผนภูมิ
1.10 อภิปรายผล (Discussion) แสดงผลการวิจัยตรงกับวัตถุประสงค์ หรือแตกต่างจากผู้ที่ รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
1.11 ข้อเสนอแนะ (Recommendation) ควรประกอบด้วย ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัย ไปใช้และข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป
1.12 ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ (Table, Figure, Diagram and Graph) ควรเลือก เฉพาะที่จำเป็น และสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ขนาดให้เหมาะสม กรอบตารางให้เป็นแบบปิดทั้ง 4 ด้าน มี คำอธิบายประกอบ (คำอธิบายตารางอยู่ด้านบน ส่วนภาพ แผนภูมิ กราฟ อยู่ด้านล่าง)
1.13 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) ระบุว่าได้รับทุนและการสนับสนุนจาก องค์กรใด หรือบุคคลใดบ้าง จะมีหรือไม่มีก็ได้
1.14 เอกสารอ้างอิง (References) ให้อ้างอิงตามหลักเกณฑ์ระบบ APA
รูปแบบการเขียนอ้างอิง และเอกสารอ้างอิง
1. การอ้างอิงในเนื้อหา ใช้รูปแบบ APA 6th edition คือ ระบุชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์ ดังนี้
1.1 ถ้าผู้แต่งมีคนเดียว (ชื่อ/นามสกุล,/ปีที่พิมพ์) เช่น (ประเวศ วะสี, 2544)
- (นามสกุล,/อักษรตัวใหญ่ตัวแรกของชื่อต้น.,/ปีที่พิมพ์) เช่น (Robert, 2001)
1.2 ถ้าผู้แต่งมี 2 คนให้ลงชื่อทั้งหมดระหว่างชื่อให้คั่นด้วย “และ” หรือ “&”เช่น - (สมศักดิ์แซ่จึงและอำนาจ ตั้งตระกูล, 2551)
- (Kosslyn & Barrett, 1996)
1.3 ถ้าผู้แต่งตั้งแต่ 6 คนขึ้นไปให้ลงเฉพาะชื่อคนแรกและใส่ “และคณะ” หรือ “et al.” เช่น
- (ปราณีสุขเชื้อและคณะ, 2544)
- (Smith, M. et al., 2000)
1.4 ถ้าผู้แต่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานที่มีตัวย่อให้กำกับตัวย่อไว้ในวงเล็บเหลี่ยมเช่น
- (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ [สวทช], 2550) การอ้างอิงครั้งแรก
- (สวทช, 2550) การอ้างอิงครั้งที่ 2 เป็นต้นไป
1.5 ในกรณีที่มีการอ้างถึง ให้ระบุแหล่งสารนิเทศต้นฉบับก่อนแล้วตามด้วยคำว่า “อ้างถึงใน” สำหรับสารนิเทศภาษาไทยและ “as cited in” สำหรับสารนิเทศภาษาอังกฤษเช่น
- (ทองฉัตรแจ่มใส, 2543 อ้างถึงในนวลจันทร์ผ่องศรี, 2556) - (Regier, 1993 as cited in Coltheart, 2005)
2. การอ้างอิงท้ายเนื้อหา ใช้รูปแบบ APA
สำหรับรายการที่พิมพ์ไม่จบใน 1 บรรทัดให้ขึ้นบรรทัดที่ 2 เยื้องเข้าไป 0.5 นิ้ว และการขึ้นต้นชื่อภาษาอังกฤษให้ยึดตามสารสนเทศต้นฉบับ
2.1 หนังสือทั่วไป
ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//(ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
ปิยบุตร สุทธิดารา. (2558). เบสิคอินโฟกราฟิก. กรุงเทพฯ: ไอดีซีพรีเมียร์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2553). 20 วิธีการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการเรียนรู้โดย การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Stebbing, L. (1993). Quality Assurance: The Route to Efficiency & Competitiveness. (3rd ed). NewYork: Ellis Horwood.
Wilkinson, D. R. & Grieg, B. (1969). Education and Future. (2nd ed). NewYork: OneWorld Press.
2.2 บทความจากวารสาร
ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้า.
นุดี เวชรัตนกุล. (2554). การจัดการชั้นเรียน. การเรียนการสอนระดับประถมศึกษา, 13(2), 1-18.
Gatten, J. N. (2004). Measuring Consortium Impact on User Perception: OhioLINK. Academic Librarianship, 30(3), 115-135.
2.3 วิทยานิพนธ์
ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//วิทยานิพนธ์ชื่อปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต,/ชื่อสถาบันการศึกษา.
ไกรศักดิ์ สินโรจน์. (2542). การบำบัดนํ้าเสียด้วยเปลือกมังคุด. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
Benson, J. (2000). Teaching English Literature by Fun Activities. (Doctoral Dissertation, Southampton University).
2.4 การสัมภาษณ์
ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหา (สุดา นนทวัฒนตระกูล, 2546)
ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปี,/วันที่/เดือนที่สัมภาษณ์).//ตำแหน่ง(ถ้ามี).//สัมภาษณ์.
สุดา นนทวัฒนตระกูล. (2546, 26 มิถุนายน). ประธานกลุ่มแม่บ้านบ้านตาดตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี. สัมภาษณ์.
Obama, B. (2016, 25 May). The President of the United State. Interview.
2.5 บทความข้อมูลหรือสารสนเทศจากเว็บไซต์
ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง./สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี,/จาก ULR ที่อยู่ของแหล่งข้อมูล
ดนุสารากร. (2550). ธุรกิจอัญมณีไทยในอีก10 ปี. สืบค้นเมื่อ 17เมษายน 2560, จาก http://www.businesssthai.com/content.php
Alberton, K. (1997). Critical thinking activities to improve reading skills. Retrieved 10 May 2009, from http://www.skillsforactivites.com/document.ptp?gid=afir3
2.6 รายงานการประชุม การประชุมวิชาทางการ
ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ชื่อ/สกุลบรรณาธิการ(บ.ก)./ชื่อการประชุม/(หน้า).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.
ธนารัตน์ แก้วขวัญ. (2548). การจัดการชั้นเรียน. ใน จันทิมา เที่ยงจริง (บ.ก.). มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทาย ของโลกที่เปลี่ยนแปลง (น. 27-38). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
Solhiem, C. (2001). Cell Division in Higher Plants. In William, P. (Ed.). Proceeding of the International Conference (pp. 145-158). West Sussex: IMP Press.
ณัฐพงค์ แย้มเจริญ. (2556). หนังลาวก้าวยังไม่ไกล แต่จะไปให้ถึง: ประเด็นควรพัฒนาเพื่อก้าวสู่ระบบอุตสาหกรรม ภาพยนตร์ลาว. ใน รัตนะ ปัญญาภา (บ.ก.). อาเซียน: เสพ ศาสน์ ศาสนติ์ ศิลป์ รวมบทความวิชาการการประชุมวิชาการระดับชาติ มนุษย-สังคมศาสตร์ราชภัฏอุบล ครั้งที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 9 สิงหาคม 2556 (น. 1-19).อุบลราชธานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
2.7 รายงานการวิจัย
ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง./(รายงานการวิจัย).//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
จักรพันธ์ โสมะเกษตริน. (2551). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นศรีสะเกษเพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
2.8 หนังสือพิมพ์
ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อเรื่อง.//ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า.
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2554, 2 ธันวาคม). แผนพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐาน อุดมศึกษาในช่วงระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2554-2559). ไทยรัฐ, 6
2.9 ประกาศ หรือ คำสั่ง
ชื่อหน่วยงาน//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อเรื่อง./เลขที่เอกสาร (ถ้ามี).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2549, 7 สิงหาคม). เรื่องมาตรฐานการอุดมศึกษา.
2.10 ราชกิจจานุเบกษา
ชื่อกฏหมาย//(ปี,/วัน/เดือน).//ราชกิจจานุเบกษา./เล่ม/ตอนที่./หน้า.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพาพุทธศักราช 2533. (2533, 29 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 107 ตอนที่ 131. น.1-20.
3. ถ้าปรากฏชื่อทั้งสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ให้ใส่เฉพาะชื่อสำนักพิมพ์โดยตัดคำว่า “สำนักพิมพ์” ออกยกเว้นสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยเช่น
- สำนักพิมพ์ดอกหญ้า (ดอกหญ้า)
- สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- McGraw-Hill Book Publisher ลงว่า McGraw-Hill
ถ้าปรากฏเฉพาะชื่อโรงพิมพ์เช่น
- โรงพิมพ์อุบลการพิมพ์ (โรงพิมพ์อุบลการพิมพ์)
- Leisure Press (Leisure Press)
ถ้าปรากฏเฉพาะชื่อบริษัทเช่น
- บริษัทนานมีจำกัด (นานมี)
- Clayton Company (Clayton)
ถ้าไม่มีชื่อผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ให้ระบุ (ม.ป.ท.) หรือ (n.p.)
4. ถ้าไม่ปรากฏที่พิมพ์ให้ระบุ (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.)
- บทความวิชาการ ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ เนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง (ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับบทความวิจัย)
- บทความวิจารณ์หนังสือ ประกอบด้วย ข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้วิจารณ์ บทวิจารณ์
การส่งต้นฉบับและการพิจารณา
1.ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับมายังกองบรรณาธิการวารสารได้ ผ่านเว็บไซต์วารสารออนไลน์ www.tci-thaijo.org โดยผู้เขียนต้องสมัครสมาชิกก่อนส่งต้นฉบับแบบออนไลน์
1.1 ในกรณีที่มีปัญหาในการส่งบทความทางเว็บไชต์ผู้เขียนควรระบุช่องทางในการติดต่อกลับ ไม่ว่าจะเป็นอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์
- บทความที่กองบรรณาธิการรับไว้เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ ผู้เขียนจะต้องจ่ายค่าพิจารณาบทความ จำนวน 4,000 บาท เก็บเมื่อบทความเข้าสู่กระบวนการ review และจะไม่คืนเงินในกรณีที่บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่ากรณีใด ๆ