แนวทางการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลในบริบทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ได้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ในจังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์จังหวัดอุบลราชธานี ในบริบทอาเซียน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และข้อมูลจากการระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยว โดยอาศัยวิธีการ SWOT Analysis เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์มีศักยภาพและความพร้อมต่อการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีจุดเด่นในเรื่องของความรู้ทางสังคมวัฒนธรรม กฎระเบียบข้อบังคับของโดยเฉพาะประเทศลาวและกัมพูชา ด้านการบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน อุบลราชธานีมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง และมีระบบคมนาคมที่สะดวกสบาย นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาได้ตลอดทั้งปี จุดอ่อนที่เป็นปัญหาอุปสรรคพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์บางรายไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การเกิดปัญหาการเมืองมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกในองค์กรนำไปสู่ปัญหาการกีดกันในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ส่วนแนวทางในการพัฒนาศักยภาพนั้น คือ หน่วยงานภาครัฐควรให้การสนับสนุนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์รายใหม่เพื่อที่จะได้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น จะต้องสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Article Details
References
จิดาภา ช่วยพันธุ์. การเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ไทยได้อะไร. กรุงเทพฯ:
ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2556.
ชวิศร์ อรรถสาสน์, สิทธิโชค เลิศธีรดา และ กรองแก้ว พู่พิทยาสถาพร. “แนวทางการพัฒนามัคคุเทศก์เพื่อ
รองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว,” วารสารศรีนครินวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 2 ฉบับพิเศษที่ 1 มกราคม 2553.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทร์ และ ฉัตยาพร เสมอใจ. การจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2547.
ณัฐพล จันทร์เขียว. การเตรียมความพร้อมของธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อ รองรับการ
เข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558. เชียงใหม่: วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
ทิพย์วดี โพธิ์สิทธิพรรณ และนรพรรณ โพธิพฤกษ์. “การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวกับ
การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.” ภาควิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2558.
ธงชัย สันติวงษ์. พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2540.
ธงชัย สันติวงษ์. การจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. การจัดการสำนักงาน : Office Management. กรุงเทพมหานคร: เซ็นต์ทรัลเอ็กเพรส,
2550.
เนียนนิภา สำเนียงเสนาะ และคณะ. “การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี”.
วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: กินอยู่ ร้อง รำ ธรรม เพลง, รวมบทความการประชุมวิชาการ ระดับชาติ มนุษย-สังคมศาสตร์ราชภัฎอุบล ครั้งที่ 2. 2557 หน้า 556-558.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ วิจิตรหัตถกรรม, 2554.
วิเชียร วิทยอุดม. ทฤษฎีองค์การ.กรุงเทพฯ: ธีรฟิล์มและไซเท็กซ์, 2547.
สุชาติ เซี่ยงฉิน และคณะ. “การศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาเมืองพัทยาสู่ประชาคม
อาเซียน,” วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 27, ฉบับที่ 2. 2560. หน้า 379-391.
อาทิตย์ วุฒิคะโร. อุดมศึกษากับการสร้างบัณทิตให้เป็นผู้ประกอบการ. จุฬาลงกรณ์วารสาร. ปีที่ 12 ฉบับที่ 46,
2543.
Mir, J. H., & Chandrasekharan, C. Forest capital disinvestments and sustainable development
in the greater Mekong subregion: making visible the invisible. Journal of Greater Mekong Subregion Development Studies, 3(2), 23-34, 2006
Robbins, S. P. and Coulter, M. K. Management. 7th ed. New Jersey : Prentice Hall International,
Inc, 2007.
Sirikaew, N. The greater Mekong sub-region on tourism: the potential and the feasibility to
develop Ubon Ratchathani provine as the hub of tourism. Unpublished Independent study, Ubon Ratchatani university, Ubon Ratchatani, 2003.