การพัฒนาสื่อการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง สำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ของสถาบันภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติศรีปทุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Main Article Content

รัชนี แจ่มใส

บทคัดย่อ

 อาชีพขับรถแท็กซี่เป็นอาชีพที่มีโอกาสในการสื่อสารกับชาวต่างชาติมากที่สุดอาชีพหนึ่ง และนับว่าเป็นอาชีพในลำดับต้นๆ ที่ได้พบปะและให้บริการแก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาเยือนประเทศไทย ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญจำเป็นสำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ โดยเป็นสื่อที่ผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่สามารถใช้เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดได้ด้วยตนเอง


งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของคณาจารย์ประจำสถาบันภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติศรีปทุม มหาวิทยาลัยศรีปทุมในการสร้างสื่อ โดยสื่อที่สร้างขึ้นได้เสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความถูกต้องเหมาะสม ผลการวิจัยทำให้ได้แอปพลิเคชันสำหรับใช้งานบนสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 15 บทเรียน นำเสนอในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชัน ในแต่ละบทเรียน ผู้ใช้จะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษจากการดู การฟัง และการอ่าน จากสถานการณ์ต่างๆ ที่จำลองการใช้ภาษาอังกฤษระหว่างผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่กับผู้โดยสารชาวต่างชาติ ตลอดจนได้เรียนรู้คำศัพท์และโครงสร้างทางภาษา และนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมท้ายบทให้ผู้เรียนได้ฝึกหัด ซึ่งจากการให้ผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่
กลุ่มตัวอย่างได้ทดลองใช้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถใช้สื่อนี้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิโลบล แหกาวี. (2553). อุปสรรคและปัญหาในการใช้ภาษาอังกฤษของคนขับรถแท็กซี่และรถตุ๊กตุ๊กใน
เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยะดา จุลวรรณา. (2553). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ ตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานและแนวคิดการ
เรียนรู้จากประสบการณ์ สำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์
ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. (2558). มาตรฐานแอปพลิเคชันภาครัฐสำหรับอุปกรณ์
เคลื่อนที่. กรุงเทพฯ: พี. เอ็ม. มีเดีย พริ้นท์.

Aiken, L.R. (1978). Later Life. Philadephia: W.A. Saunders Company.

Cook, V. (2001). Using the First Language in the Classroom. Retrieved 5 July 2018, from
https://www.viviancook.uk/Writings/Papers/L1inClass.htm

Dunn, R. & Dunn, K. (1998). Practical Approach to Individualizing Staff Development
for Adult. Westport: Praeger Publishers.

Ellis, R. (1994). The Study of Second Language Acquisition. Oxford: Oxford
University Press.

Gardner, D. & Miller, L. (1999). Establishing Self-Access: From Theory to Practice. Cambridge: Cambridge University Press.

Hutchinson, T. and Waters, A. (1994). English for Specific Purposes. Cambridge:
Cambridge University Press.

Hwang, W.Y. et al. (2015). Evaluating listening and speaking skills in a mobile game-
Based learning environment with situational contexts. Retrieved 12 December 2015, from www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/09588221.2015.1016438

Knowles, M. S. (1978). The Adult Learner: A Neglected Species. (2nded). Houston:
Gulf Publishing Company.

Malamed, C. (2009). Characteristics of Adult Learner. Retrieved 10 July 2018, from
https://theelearningcoach.com/learning/characteristics-of-adult-learners/

Sheerin, S. (1989). Self-Access. Oxford: Oxford University Press.

Tomlinson, B. (1998). Access-self material. In Tomlinson, B. (Ed.). Materials Development
In Language Teaching Cambridge: Cambridge University Press.



References

Electronic Government Agency. (2015). Government Mobile Application Standard.
Bangkok: P.M. Media Print.

Nilobon Heakawee. (2010). Barriers and Problems in English Language Usage among
Taxi and Tuk-Tuk Drivers in Bangkok. Master of Art Dissertation, Thammasat
University.

Piyada Junwanna. (2010). Development of a non-formal education program to
enhance Vocational English skill based on place-based education and
experiential learning Approach for taxi drivers in Bangkok metropolis.
Doctoral Dissertation, Chulalongkorn University.