การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ Alexander จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

puttaporn khottaphat

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ Alexander จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ Alexander จังหวัดอุบลราชธานี และ 3)เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ต่อพฤติกรรมและความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ Alexander พิจารณาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สำหรับใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลบรรยายข้อมูลส่วนบุคคลและข้อเสนอแนะได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน การทดสอบค่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี LSD เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมุติฐาน


            ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อศึกษาหาความรู้ โดยเดินทางไปกับครอบครัว/ญาติพี่น้อง ขณะเดียวกันก็ใช้สื่ออินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวส่วนเรื่องการเดินทางนิยมใช้รถส่วนตัว และมักจะเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นครั้งแรก เมื่อพิจารณาระดับความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.65 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูง ได้แก่  ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย 4.22 ) รองลงมาได้แก่ ด้านสิ่งดึงดูดใจแหล่งท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย 4.10) ด้านกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย 4.03) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย 3.81) ตามลำดับสำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันนั้นมีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน ขณะที่อีกด้านหนึ่งพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันนั้นไม่มีผลต่อความพึงพอใจการท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ Alexander อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ยกเว้นปัจจัยเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา ที่มีผลต่อความพึงพอใจที่แตกต่างกันตามลักษณะส่วนบุคคล


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย. กุลทิกา วิบูลย์ปิ่น. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุข
สถาน.สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ก้องชาติ เลี้ยงสมทรัพย์. (2561). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มาเที่ยว จังหวัด นครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2561, จาก https://vu.ac.th/lib/detail.phpid=312
วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง. (2555). “ตัวแบบสมโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวชาว ไทยที่มีต่ออุทยานแหล่งชาติทางทะเลในภาคใต้ ของประเทศไทย” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย หอการค้าไทย, 33(3), 1-15.
ทวีลาภ รัตนราช. (2553). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยว เชิง สัมผัสวัฒนธรรม ในรูปแบบโฮมสเตย์ ชุมชนบ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัด ชุมพร. กรุงเทพฯ: ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การจัดการนันทนาการ). : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนค รินทรวิโรฒ.
สุรชัย ทุหมัด. (2556). ความพึงพอใจของผู้รับบริการพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุวัจชัย เสมา. (2549). ความพึงพอใจในการท่องเที่ยวพัทยาและบางแสน:กรณีศึกษาเฉพาะนักท่องเที่ยว ชาวไทย.วิทยานิพนธ์. (วิทยาลยับริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลยับูรพา).
ศิริเพ็ญ เยี่ยมจรรยา. (2555). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาตปิี 2554 และแนวโน้ม ปี 2555. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว. 171 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภฏัอุบลราชธาน ี
ปีที่ 10 ฉบับท ี่2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562)

Liang, Corbitt and Peszynski. (2009). Development of a Blended Vocational Instruction Model Using ProjectBased Learning in The Workplace to Develop Performance and Ploblem Solving Skills for Industrial Vocational Certificate Students. (Doctoral dissertation Chulalongkorn University, Thailand).
Li, Y., Leung, et at. (2011). Antimicrobial effect of surgical masks coated with nanoparticles. Journal of Hospital Infection,. 62: 58–6.