กลยุทธ์ทางการตลาดงานนิทรรศการเทศกาลพันธุ์ไม้งามเมืองอุบล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบริบททั่วไปของงานนิทรรศการเทศกาลพันธุ์ไม้งามเมือง อุบล วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกการจัดงานนิทรรศการเทศกาลพันธุ์ไม้งามเมือง อุบล และสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดงานนิทรรศการเทศกาลพันธุ์ไม้งามเมืองอุบลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดจำนวน 45 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ การแปรผลการศึกษาใช้การบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า งานนิทรรศการเทศกาลพันธุ์ไม้งามเมืองอุบล ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเทศกาลแสดงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของจังหวัดอุบลราชธานี รองจากงานเกษตรอีสานใต้ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมของทุกปี ภายในงานช่วงเช้ามีกิจกรรม อาทิ ประกวดการจัดสวนไม้ดอกไม้ประดับ การแข่งขันจัดซุ้มงานแต่งงาน การประกวดเขียนเรียงความ และการประกวดแต่งกลอน เป็นต้น ในช่วงเวลากลางคืน มีกิจกรรมการประกวดแข่งขันวงดนตรีพื้นเมือง การประกวดร้องเพลง การประกวดนางงาม และกิจกรรมบันเทิงอื่นๆ โดยเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
จุดแข็งของการจัดงานนิทรรศการ คือ เป็นศูนย์กลางที่รวบรวมไม้ดอก-ไม้ประดับที่สุดในภาคอีสาน มีการจัดจำหน่ายพันธุ์ไม้ที่หลากหลายชนิด ราคาไม่แพง การเดินทางสะดวกสบาย ขณะที่ จุดอ่อน คือ ปัญหาความขัดแย้งด้านการแบ่งปันผลประโยชน์ ด้านการขาดการมีส่วนร่วมในการจัดงานของบุคลากร และการขาดความตระหนักรู้ในความสำคัญของการจัดงาน สำหรับโอกาส คือ ที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีที่มีอาณาเขตติดต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา สะดวกต่อการนำเข้าและส่งออกพันธุ์ไม้ไปยังประเทศ ส่วนอุปสรรคพบว่าการเดินทางที่เข้าถึงได้เพียงรถยนต์ส่วนตัว ไม่มีรถขนส่งสาธารณะสัญจรผ่าน
กลยุทธ์ทางการตลาดของงานนิทรรศการพันธุ์ไม้งามเมืองอุบลมีวิสัยทัศน์คือ “พันธุ์ไม้งามเทศการงานประจำปี สู่การบริการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ ก้าวไปข้างหน้าสู่ความเป็นเลิศ” มีพันธกิจเพื่อ 1. กำหนดแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของงาน ให้มุ่งสู่การเป็นงานนิทรรศการเทศกาลประจำปี 2. พัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารจัดการภายในและภายนอกให้เป็นไปในรูปแบบสากล สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคม และ 3. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดงานนิทรรศการในภายภาคหน้า ประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์ทางการตลาด 3 ยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้ 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยว 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมการตลาดสู่การรับรู้ของนักท่องเที่ยว และ 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนทางการท่องเที่ยว โดยมี 7 กลยุทธ์ 11 โครงการ
Article Details
References
จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
กิติพจน์ แสนสิงห์. (2551). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านบัวเทิง ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา
บัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
จารุณี กมลขันติกร . (2557). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร.
เทพกร ณ สงขลา. (2556). รูปแบบการจัดการทรัพยากรเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเชิง เกษตรที่ยั่งยืนในอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.(การจัดการทรัพยากร
เกษตรเขตร้อน)). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นันทพรรณ พูลอ่ำ. (2560). การท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2561, จาก https://sites.google.com/site/456556123456asdf/kar-thxng-theiyw-cheing-kestr
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561, จาก https://sites.google.com/site/pmtechtravel/bth-thi-3
ปกรณ์ สึงตี. (2554). โครงการศึกษาเอกลักษณ์ลุ่มแม่น้ำโขงสู่งานออกแบบภายในศูนย์ส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแม่น้ำโขง, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปริญา ปริพุฒ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้เรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญ.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประชาชาติธุรกิจ. (2561). จับตาท่องเที่ยวไทยปี 61. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561, จาก https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-96081
พบพร โอทกานนท์. (2556). ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว .รูปแบบคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบ
พำนักระยะยาวของชาวยุโรปและอเมริกัน, 32(1), 38.
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2561). การตลาด. . สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2561, จาก https://elearning.bu.ac.th/mua/course/mk212/ch1.htm#mkmeaning
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2556). วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อความยั่งยืน : โครงการหลวงปางดะ, 9(1), 19-35.
วราวรรณ ฐาปนธรรมชย. (2556). วารสารวิทยบริการ. กลยุทธ์การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนฯ, 24(3), 94
สุพิณญา โมสิกานนท์. (2559). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อจักรยานของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อาภาพรรณ จันทนาม. (2556). การส่งเสริมการตลาดการจัดประชุมสีเขียวในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
BLT Bangkok. (2561). ท่องเที่ยวไทยสดใส กวาดรายได้แตะ 1 ล้านล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561, จาก https://www.bltbangkok.com/News