ความต้องการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของนักทอ่งเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวใน พระบรมธาตุนาดูน สำหรับการท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวล

Main Article Content

nattapong chaisaaengpratheep

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวพระธาตุนาดูน 2. สำรวจความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อทุกคน พระธาตุนาดูน และ3.เสนอแนวทางการพัฒนา และปรับปรุงสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่บริเวณพระธาตุนาดูน ตามมาตรฐานตามอารยสถาปัตย์ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจำนวน 305 คน โดยใช้โปรแกรม G*Power 3.1.2 และเก็บตัวอย่างโดยวิธีบังเอิญ (Accidental Sampling) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 20 ปี การศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป อาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท สถานภาพโสด นักท่องเที่ยวมีภูมิลำเนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดินทางมาท่องเที่ยวที่พระธาตุนาดูน 2-3 ครั้ง/ปี มาเพื่อไหว้พระ/ทำบุญ และเดินทางมาพร้อมกับครอบครัว ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวไม่เกิน 1,500 บาท นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อทุกคนโดยรวมมาก และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ป้ายและสัญลักษณ์ นักท่องเที่ยวที่มีอายุ และอาชีพต่างกันมีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อทุกคน พระธาตุนาดูน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


แนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อทุกคน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงสถานที่ให้มีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อทุกคนตามมาตรฐานกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2555 และสามารถเข้าถึงสิ่งอํานวยความสะดวกเหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป้ายและสัญลักษณ์ ทางลาด ทางเชื่อมอาคาร ทางข้ามถนน และที่จอดรถรวมทั้งห้องน้ำ ห้องส้วม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล. สบืค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2561, จาก https://www.mots.go.th/content.php?nid=11028&filename=index กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). พระบรมธาตนุาดนู. สืบคน้เมื่อ 12 ธันวาคม 2558, จาก https://www.m-culture.go.th/travel/ewt_snews.php?s=eW91bmdAQEA1MDU= กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2556). คู่มือการออกแบบสภาพแวดล้อม สำหรับคนพิการ และ คนทุกวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ม.ป.ท. จักรกฤษณ์ แสนพรหม. (2556). ความจำเปน็ของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ และ ผู้สูงอายุในพื้นที่ กรณีศึกษา สถานที่ท่องเที่ยวซงึ่เป็นพระธาตบุริวารของพระธาตุพนม จงัหวัด นครพนม. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยสีุรนารี). ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2542). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2560). คู่มือการออกแบบเพื่อทุกคน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั, หน่วยปฏิบัติการวิจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผสูู้งอายุและคนพิการ. ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์. (2561). ความต้องการของคนพิการที่มตี่อการให้บริการสิ่งอํานวยความสะดวกของ ขนส่งสาธารณะระบบราง. การประชุมวชิาการระดบัชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2561. RSU National Research Conference 2018. (น. 374-385). ฐิติกานต์ นิยมอดุลย์. (2553). ความต้องการของคนพิการต่อสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการเข้าถึงบริการ ทางสงัคมกรณีศึกษา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต. (สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบณัฑติ มหาวิทยาลยัธรรมศาสตร์). นวลน้อย บุญวงษ์. (2549). การออกแบบภายในอาคารเพื่อคนพิการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพแ์ห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย. ไปรยา สุพรรณพยัคฆ์. (2561). ความต้องการเข้าถึงสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการและผู้สงูอายุใน ที่ว่าการอําเภอ และศาลากลางจังหวัดสระบุรี. การประชุมวิชาการและนาํเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 9. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนนัทา. (น. 947-959). ภัทรนิษฐ์ จันพล. (2556). แนวทางการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวย ความสะดวกสำหรับผสูู้งอายุในพื้นที่วัด. (ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั). สุรีรัตน์ เซ็นกลาง. (2559). แนวทางการพัฒนาการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุใน ชุมชนเขตบางนา กรุงเทพมหานคร. สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑติ คณะสงัคมสงเคราะหศ์าสตร์ มหาวิทยาลยัธรรมศาสตร์.
สุวิมล ติรกานนัท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Darcy, S. (1998). Anxiety to Access: Tourism Patterns and Experiences of Disabled New South Wales People with a Physical Disability. Sydney: Tourism New South Wales. Ross D. (2016). Tourism for All pledge. Retrieved from https://www.ttrweekly.com/site/2016/09/tourism-for-all-pledge/ Sanmargaraja, S. (2015). Accessible Tourism Destinations in Malaysia: Disabled Tourists’ Requirements Article. Australian Journal of Basic and Applied Sciences, 9(33), 436442 Susanna, A.M. (2015). Accessibility to Tourism by Persons with Disabilities in the Ashanti Region of Ghana. (Master of Science Disability. Kwame Nkrumah University of Science and Tecnology Kumasi, Ghana). Preiser & H. Smith. (2011). Universal design handbook. 2nd ed. New York: McGraw-Hill. Yau, McKercher & Packer, (2004). Traveling with a disability: More than an Access Issue. Elsevier. Annals of Tourism Research, 31(4), 946–960. Zajadacz. A. (2015). Evolution of models of disability as a basis for further policy changes in accessible tourism, Journal of Tourism Futures, 1(3), 189-202.


Translated Thai References
Boonjai Srisatidnarakul. (2010). The Methodology in Nursing Research. (5th ed). U&I Intermedia. Department of Empowerment of Persons with Disabilities. (2013). Environmental Design Manual for people with disabilities and people of all ages. (4th ed). (n.d.) Jakkrit Saenprom. (2013). The necessity of facilities for local elderly and senior tourists: a Case study of Satellite phra thats of Phra That Phano, Nakhon Ratchasima Province. This project is part of the study according to the Master of Engineering degree program. Construction and utility management, Civil Engineering Department, Engineering School. Suranaree University of Technology. Nualnoi Boonwong. (2006). Interior design for people with disabilities. Bangkok. Chulalongkorn University Press. Ministry of Tourism & Sport. (2018). Tourism for All. Retrieved 11 December 2561, from https://www.mots.go.th/content.php?nid=11028&filename=index Ministry of Culture. (2015). Phra That Nadun. Retrieved 12 December 2561, from https://www.m-culture.go.th/travel/ewt_snews.php?s=eW91bmdAQEA1MDU=