รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้เทคนิค 6Ts เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้เทคนิค 6Ts เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้เทคนิค 6Ts เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 สังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้เทคนิค 6Ts เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกรายการเชิงสังเคราะห์ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากคำสัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูล ระยะที่ 2 ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียน การสอนออนไลน์โดยใช้เทคนิค 6Ts เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่สังเคราะห์ขึ้นมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โมดูลผู้เรียน 2) โมดูลผู้สอน 3) โมดูลอินเตอร์เฟส 4) โมดูลจัดการเรียนการสอน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นเตรียมการ (2) ขั้นปฏิบัติ (3) ขั้นประเมินผล
- ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่สังเคราะห์ขึ้น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก แสดงว่า สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนได้
Article Details
References
ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการ
เรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Design e-learning : หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียน
การสอน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
นงค์นาถ ชาววัง. (2551). การสำรวจปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภาภรณ์ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. (2555). การศึกษาการยอมรับการจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งของอาจารย์และ
นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. Veridain E-Journal, SU,
5 (2), 388-402.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
เพ็ญสินี กิจค้า และฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ. (2560). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตาม
ทฤษฎีเครือข่ายศัพท์และกลวิธีคิว เอ อาร์เพื่อส่งเสริมความรู้ในศัพท์ของนักศึกษาใน
ระดับอุดมศึกษา. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ.
10 (1),1558-17773.
ฟ้าสว่าง พัฒนะพิเชฐ. (2554). แบบจำลองบันได 3 ขั้น : แนวทางในการสอนการสื่อสารทางการพูด
ภาษาอังกฤษ. วารสารนักบริหาร 31(4), 41-45.
ภาวิณี โสธายะเพ็ชร. (2558). 5Ts กับความสำเร็จของครุศึกษาประเทศฟินแลนด์. วารสารครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 43(3), 65-81.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและพัฒนาคอสแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ:
ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร
เหนือ.
รพีพรรณ สุฐาปัญณกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเทคนิคโดยวิธีการสอนที่เน้น
ภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์
สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. นวัตกรรมการเรียนรู้ 1 (2),11-12.
สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2554). ภาษาอังกฤษกับอนาคตของไทยใน ASEAN. สืบค้นเมื่อ
20 มีนาคม 2558. จาก https://www.facebook.com/notes/.
สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่11 พ.ศ.
2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรงศึกษาธิการ.
สินีนาฏ วัฒนสุข และภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการอ่าน
ภาษาอังกฤษโดยบูรณาการยุทธวิธีส่งเสริมการคิดขั้นสูงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน
ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9 (1),195-217.
โสรญา สมานมิตร และวิสาข์ จัติวัตร์. (2560). แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเว็บ
เควสท์. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (1),1492-1505.
อัจฉรา วงศ์โสธร. (2544). การทดสอบและประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
References
Ministry of Education. (2008). Basic Education Curriculum 2014. Bangkok: Cooperative Printing
Community Agriculture of Thailand.
Ministry of Education. (2014). Guidelines according to the announcement of the Ministry of Education on English language teaching reform policy. Bangkok : Chamchuri Products.
Tanomporn Laohacharassang. (2002). Design e-learning : Principles of web design and
creation for teaching. Bangkok: Aroonkarnpim
Nongnat Chaowang. (2008). Survey of English reading problems of Thai mathayom suksa
six students. Bangkok: Graduate School Srinakharinwirot University.
Napaporn Chatmaneerungcharoen. (2012). A Study of teaching and learning acceptance
of E-learning for teachers and undergraduate students Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus. Veridain E-Journal, SU,5 (2), 388-402.
Boonchom Srisa-ard. (2010). Introduction of Research. (8th ed). Bangkok: Suviriyasarn.
Pensinee Kitkha and Ruedeerath Chusanachoti. (2017). Development of an English
Instructional Process Based on Lexical Network Theory and QAR Strategy to Enhance Lexical Knowledge of Higher Education Level Students. Veridain E-Journal, SU, 10 (1),1558-17773.
Fasawang Pattanapichet. (2011). The three-step model: a guideline for teaching english
oral communication. Executive Journal, Bangkok University,31(4), 41-45.
Pavinee Sothayapetch. (2015). 5TS: The reason why teacher education in Finland is
successful. Education Journal, Chulalongkorn University, 43(3), 65-81.
Monchai Tienthong. (2005). Courseware design and development for CAI. Bangkok:
Department of Computer Studies Faculty of Industrial Education King Mongkut's
Institute of Technology North Bangkok.
Rapeephan Suthapannakul. (2014). The Development of Technical English Reading Model
Focusing on Task and Project Based Learning to Enhance Reading
Comprehension andCreative Thinking for Undergraduate Students.
Department of Curriculum and Instruction, Graduate School, Silpakorn
University.
Wichan Panit. (2015). Way of learning for students in the 21st century. Journal of Learning
Innovation 2 (1),11-12.
Somkiat Onwimon. (2011). English for the future of Thailand in ASEAN. Retriered
March 2015. from: https://www.facebook.com/notes/
Sineenat Wattanasuk and Patteera Thienpermpool. (2017). The Development of the English
Reading Instructional Model by Integrating Higher Order Thinking Strategies to
Enhance English Reading Comprehension Abilities and Analytical Thinking Skills of
Second Year English Major Students. Academic Journal of Buriram Rajabhat
University, Vol. 9 No. 1 January - June 2017,195-217.
Soraya Samarnmit and Wisa Chattiwat. (2017). English Reading Exercises Using WebQuest
Activities. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10 (1),1492-1505.
Achara Wongsothorn. (2001). Test and Evaluation of English Language Teaching. 3th ed.
Bangkok: Chulalongkorn University.
Dakar, Senegal. (2013). The “5 Ts” for Effective Reading Instructions: Teaching, Time,
Text, Tongue, Test. Retriered 12 June 2016). from:
https://globalreadingnetwork.net/sites/default/files/eddata/Day_1_-_1_5Ts-_
EGR_teaching-skills.pdf
Prapphal, K. (2001). An investigation of English proficiency of Thai graduates. Retriered 20
August 2016). from : https://pioneer.chula.ac.th/~pkanchan/doc/
EnglProfLearnhailand.doc
Richard Allington, R. (2012). The Six Ts of Effective Elementary Literacy Instruction.
Retriered 15 October 2016). from:
https://www.readingrockets.org/article/six-ts-effective-elementary-literacyinstruction.
Rose, Colin & Malcom Nicholl. (1997). Accelerated Learning For The 21st Century. New
York: Delacorte.