การสร้างสรรค์การขึ้นลอยในการแสดงโขน

Main Article Content

เฉลิมชัย ภิรมย์รักษ์

บทคัดย่อ

การขึ้นลอยในการแสดงโขนเป็นการแสดงความสามารถในการต่อตัวขึ้นเหยียบบริเวณลำตัวของคู่ต่อสู้ และยกลำตัวให้ลอยขึ้นจากพื้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ด้านการขึ้นลอยในการแสดงโขน โดยการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์และทดลองออกแบบสร้างสรรค์ตามแนวความคิด ประสบการณ์และแสดงผลลัพธ์ของการทดลอง


            ผลการวิจัยพบว่า การขึ้นลอยในการแสดงโขน เป็นกระบวนการที่สำคัญซึ่งผู้แสดง ตัวพระ ตัวยักษ์ ตัวลิงและตัวนาง ได้แสดงความสามารถในการต่อตัวและแสดงท่าทางด้านนาฏยศิลป์ไทย  โดยผู้แสดงต้องมีความรู้ ทักษะและความชำนาญ ในการทรงตัว การถ่ายเทน้ำหนักและการจัดวางโครงสร้างท่ารำ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองออกแบบสร้างสรรค์ องค์ความรู้ใหม่ด้านการขึ้นลอยในการแสดงโขนลักษณะอื่น ๆ โดยนำแนวคิดจากงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม นาฏกรรม วรรณกรรมและกีฬา ศึกษาจากวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์และการแสดงโขนในปัจจุบัน ที่จะสามารถนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบสร้างสรรค์การขึ้นลอยของตัวละครในการแสดงโขนและให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ชม โดยเลือก                                                                               กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาที่มีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ไทย จำนวน 16 คนตามสาขา ตัวพระ 2 คน ตัวยักษ์ 9 คน ตัวลิง 4 คน และตัวนาง 1 คน ทดลองสร้างสรรค์การขึ้นลอยแบบคู่และการขึ้นลอยแบบกลุ่ม นำเสนอให้กับผู้เชี่ยวชาญและผู้มีความรู้ด้านนาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลป์สากล จิตรกรและนักกายภาพบำบัด ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อทำการแก้ไขปรับปรุง ผลลัพธ์ดังกล่าวจะปรากฏขึ้นในระหว่างกระบวนการสร้างสรรค์ ส่งผลให้การทำวิจัยต้องถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ ด้วยเหตุผลทางด้านขนบจารีต เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ อาวุธ บุคลิกของตัวละครและสุนทรียทางด้านนาฏยศิลป์ไทย


            การขึ้นลอยในการแสดงโขนถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ การทดลองหรือพัฒนาสร้างสรรค์จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้เกิดการยอมรับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบูรณาการองค์ความรู้สาขานาฏยศิลป์ไทยเข้ากับศาสตร์สาขาอื่น ๆ และเผยแพร่องค์ความรู้ในเชิงวิชาการ สามารถนำไปใช้ในการแสดงอันจะเป็นประโยชน์  แก่วงการศิลปะและสาธารณชนในวงกว้าง เป็นการทดลองสร้างสรรค์และพัฒนารูปแบบนาฏยศิลป์ไทยในลักษณะอื่น ๆ ต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2541). ลักษณะไทย. กรุเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

จตุพร รัตนวราหะ. (2560, 25 ธันวาคม). ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2561). ศิลปะละครรำหรือคู่มือนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: ศิวพรการพิมพ์.

นพรัตน์ ศุภาการหวังในธรรม. (2561, 25 มกราคม) . ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย. สัมภาษณ์.

นิยะดา เหล่าสุนทร. (2548). หอไตรกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ประเมษฐ์ บุญยะชัย. (2561, 25 มกราคม). ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย. สัมภาษณ์.

ประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว. (2560, 20 ธันวาคม). ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์.

ประยูร อุรุชาฏะ. (2526). พจนานุกรมศิลป. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. (2549). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 1.
(พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

ไพฑูรย์ เข้มแข็ง. (2537). จารีตการฝึกหัดและการแสดงโขนตัวพระราม, วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

. (2561, 23 มิถุนายน). ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย. สัมภาษณ์.

มโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2547). สุนทรียวิจักษณ์ในจิตกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. (2560, 20 สิงหาคม). ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์.

เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2548). เส้นสายลายไทยชุดภาพจับจากศิลปะไทย. กรุงเทพฯ:
Mild Publishing.

สุนทร กายประจักษ์. (2532). กีฬากายกรรมโลดโผน. กรุงเทพฯ : เจเนรัสบุ๊คส์เซนเตอร์

สมบัติ แก้วสุจริต. (2561, 3 มิถุนายน). ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย. สัมภาษณ์.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2553). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้องภาพสุวรรณ.

สุรสา โค้งประเสริฐ. (2561, 17 มีนาคม). อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา. สัมภาษณ์.

เสาวณิต วิงวอน. (2554). วรรณคดีการละคร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสถียร ชังเกตุ. (2537). หนังใหญ่ ศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

อาคม สายาคม. (2554). รวมงานนิพนธ์ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร. กรุงเทพฯ:
รุ่งศิลป์การพิมพ์.

References

Akom Sayakom. (2011). Ruamyannipon. Department of Publishing and Public relation
Fine Arts Department. Bangkok: Rungsil printing.

Jatuporn Rattanavaraha. (2017, 25 December). National artist. Interview.

Mano Pisutthirattananon. (2004). Aesthetics Approach in Thai painting. Bangkok:
Odienstore.

Niyada Laosoonthorn. (2005). Paramanujitajionorosa. Bangkok: Amarin Printing &
Publishing.

Nopparat Supakarn Wangnaitham. (2018, 25 January). The expert in Thai Classical Dance.
Interview.

Kenneth Laws with Arleen sugano. (2008). Physics and the Art of Dance. Oxford university
press.

King Buddha Yot Fa Chulalok the Great (Rama I). (2006). Ramakien drama1. (10thed)
.Bangkok: Silpabannakarn Publisher.

Kukrit Pramoj. (1998). Luksana Thai (Thai Style). Bangkok: Thaiwattaanapanich Ltd.

Plytoon Khemkhaeng. (1994). Tradition Practice and Khon performance of Praram, Thesis
of Master Arts Programme ,Chulalongkorn University.

Plytoon Khemkhaeng. (2018, 23 June). The expert in Thai Classical Dance. Interview.

Pramet Boonyachai. (2018, 25 January). The expert in Thai Classical Dance . Interview.

Prasit Pinkaew. (2017, 20 December). National artist. Interview.

Prayur Uruchata. (1983). Master Nak. Ancient City. Bangkok: Khuungsiam Printing.

Saowanit Wingwon. (2011). Drama Literature. Bangkok: Department of Literature Faculty
of Humanities Kasetsart University.

Satien Changked. (1994). Nangyai High Class Art of Thai. Bangkok: Chuanpim Printing
House.

Sombat Kaewsujarit. (2018, 3 June). The expert in Thai Classical Dance . Interview.

Supachai Chansuwan. (2017, 20 August). National artist. Interview.

Surapol Virurak. (2010). Natayasilpritat. Bangkok: Hongpapsuwan Printing House.

Surasa Kongprasert. (2018, 17 March). An advisor at Faculty of Sport Science. Interview.

Sunthorn Kayprajak. (1989). Keelakayakamlodpon (Gymnastics).Bangkok: General book
Center.

Tanit Yupho. (2018). Art of dance drama or Thai dancing manual. Bangkok: Siwaporn
Printing.