ยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนของเกษตรกรในจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความยากจนและสาเหตุความยากจนของเกษตรกร และเสนอยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนของเกษตรกรในจังหวัดชัยภูมิ โดยการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากเกษตรกร จำนวน 403 คน ใช้การสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกร จำนวน 30 คน สัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 21 คน และประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมสนทนากลุ่ม
ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนเกษตรกรตัวอย่างในจังหวัดชัยภูมิมีสัดส่วนของครัวเรือนที่ยากจนเมื่อเทียบกับจำนวนครัวเรือนตัวอย่างทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 64.30 มีรายได้จากสมาชิกทุกคนรวมกันเฉลี่ย 88,179.90 บาทต่อปี มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยครัวเรือนละ 54,476.43 บาทต่อปี และมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนจำนวน 85,724.57 บาท สาเหตุที่มีผลต่อความยากจนของครัวเรือนเกษตรกร คือ เพศ อายุ การศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนสมาชิกที่ประกอบอาชีพ จำนวนสมาชิกที่พึ่งพิง เขตการปกครอง การคมนาคม ขนาดที่ดินการเกษตร รูปแบบการเกษตร แหล่งน้ำการเกษตร ทัศนคติต่อการทำงาน การชอบความทันสมัย การยอมรับเทคโนโลยี การชอบการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติต่อการกู้ยืม
ยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนของเกษตรกรไทยในจังหวัดชัยภูมิที่เหมาะสม เพื่อสังคมมั่งคั่ง เศรษฐกิจยั่งยืน คือ CHAIYAPHUM 3DII ได้แก่ ยุทธศาสตร์ 1 การเพิ่มโอกาสและพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุทธศาสตร์ 2 พัฒนาระบบสังคมและสวัสดิการสังคม ยุทธศาสตร์ 3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชน ยุทธศาสตร์ 4 ยกระดับคุณภาพชีวิตและเข้าถึงการบริการสังคม และยุทธศาสตร์ 5 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
Article Details
References
Community Development Department. (2013). Integrated poverty household management : Life goal, Make a life compass, Life management and Take care of life. Bangkok: Ministry of the Interior.
Jiaraphan, W. (2010). The Household debts of farmers in rural Thai. Bangkok: The Thailand Research Fund.
Jitsuchon, S. & Plangpraphan, J. (2013). The study project on policy issues poverty and income distribution. Bangkok: Thailand Development Research Institute.
Malhotra, Naresh K. (2010). Marketing Research: An Applied orientation. (6th ed). Upper Saddle River: Pearson Education.
National Statistical Office. (2015). Poverty and income distribution. Retrieved March 15, 2015, from https://social.nesdb.go.th/SocialStat/
Palasri, W. (2013). The Study of Determinants of the Household Poverty in Rural Area : Case Study of Mahasarakham Province. Rajabhat Maha Sarakham University. Journal (Humanities and Social Sciences), 7(1), 29-38.
Sakonthawat, A. (2013). The Dynamics of poverty : A Case study of farmers in rural areas in the Northeast and Central Thailand. Bangkok: Office of the National Economics and Social Development Board.
Siriwattanakul, S. et al. (2011). The Project on cooperation to solve the problem of
poverty according to sufficiency economy in Nakhon Ratchasima. Bangkok: The Thailand Research Fund
Sresunt, S. (2009). Poorness in global capitalism. Doctor of Philosophy in Integrated
Science, Thammasat University.
Suvarn, M. (2014). Rural with Poverty : Perspective of human ecological. Retrieved
December 10, 2014, from https://www.cdd.go.th /cddwarehouse /pdf/p08. pdf.
Weihrich, H. (1982). The TOWS Matrix a tool for situational analysis. San Francisco :
University of San Francisco.