การวิเคราะห์สภาพการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง : กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาล เมืองนครพนม จังหวัดนครพนม กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาล เมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

รณิดา มนต์ขลัง
สัญญา เคณาภูมิ
เสาวลักษณ์ โกศลกิติอัมพร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ลักษณะทางกายภาพ โครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทุนทางสังคม และความต้องการการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และ เพื่อวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหา/อุปสรรค และโอกาสพัฒนา (SWOT Analysis) ในการนำมาปรับใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันภาวะโรคไตเรื้อรัง ของการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  กลุ่มตัวอย่างได้มา โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)  วิธีดำเนินการวิจัย ผู้ให้ข้อมูล  จำนวน 25 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยการประชาคมเชิงปฏิบัติการ การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก  การสนทนากลุ่ม  และข้อมูลจากเวชระเบียน ที่สำคัญ คือการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการพรรณนาความตามเนื้อหา เพื่ออธิบายคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย เก็บข้อมูลจากระหว่างเดือนตุลาคม 2559


      ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุเฉลี่ยอายุ 54 ปี อาศัยอยู่ในเทศบาลเมืองนครพนม ซึ่งเป็นพื้นที่จังหวัดชายแดนตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยและพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง)  จำนวน  2,123  ราย แบ่งเป็น โรคเบาหวาน  จำนวน  815  ราย  คิดเป็นร้อยละ  38.39  โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,308 ราย คิดเป็นร้อยละ  61.61 ในจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด  พบโรคไตเรื้อรัง  Stage1 - 3  ร่วมอยู่ด้วย  คิดเป็นร้อยละ90 จากการวิเคราะห์สถานการณ์ โดยการใช้หลักการ SWOT Analysis ในการประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย พบจุดแข็งและโอกาส (SO) สนับสนุนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลังกาย และด้านการจัดการอารมณ์กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกดำเนินพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องได้สูงเนื่องจากมีแรงสนับสนุนจากปัจจัยภายนอก (EO) โดยที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำท้องถิ่น รวมทั้งความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ และสภาพเศรษฐกิจ สังคม และศาสนาเป็นดินแดนพระพุทธศาสนาซึ่งมีคุณค่าทางจิตใจ สำหรับด้านการรักษาพยาบาล มีสถานบริการสาธารณสุขที่เพียงพอ ผู้นำชุมชน และแกนนำสุขภาพในชุมชนมีความเข้มแข็ง  และด้านความร่วมมือ มีการบูรณาการงานเข้าด้วยกันได้ดี เนื่องผู้นำท้องถิ่นมีนโยบายดูแลสุขภาพประชาชน ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2555). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กองโภชนาการ กระทรวงสาธรณสุข. (2549). พฤติกรรมสุขภาพและการพึ่งตนเองดานสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). ระบบการเฝ้าระวัง พฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติดรรมเสี่ยง (3อ2ส)ของกลุ่มปกติ/เสี่ยง/ป่วย โรคเบาหวานความดัน โลหิตสูงในประเทศไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ชูเพ็ญ วิบุลสันติ. (มปป). การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน จุดด้อย โอกาส และอุปสรรค (ความเสี่ยง)ขององค์กร (SWOT Analysis). สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2560, จากhttps://www.pharmacy.cmu.ac.th/pharmcare/pharad/SWOT982.htm.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2552). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. กรุงเทพ, 2552,1- 46.

สุภาพร องค์สุริยานนท์. (2551). การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาล
เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสาธารณสุข 6 (1)..

Creer, L.T. (2000). Self-management of chronic illness. Handbook of self-regulation. California: Academic.

Green L.W & M.W. Kreuter (1991). Health Promotion Planning. An Education and Envioronmental Approach. (2nded). Toronto: May Field Publishing Company.
Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K,

References

Ministry of Public Health. (2555). Heath Behavior Changing by the Community.
Bangkok:Health Education Division. Department of Health Services Support.

Bureau of Nutrition. (2549). Heath Behavior and Self-care of Heath Service. Bangkok: The
Press of Agriculture Cooperatives of Thailand.

Department of Health Services Support. Ministry of Public Health. (2556). The
Surveillance of Risk Behaviors of the group of Normal/risk/ill for Diabetes, High Blood Pressure in Thailand. Nothaburi: Ministry of Public Health.

Choopen Wibulsanti. (n.d.). The Strength, Weakness, Opportunity, and Threat Analysis (The Risk of Organization (SWOT Analysis. Retriered 7 February 2007, from
https://www.pharmacy.cmu.ac.th/pharmcare/pharad/SWOT982.htm.

Health Data Center. HOSxP PCU. (2559). Health Center of Mueng Nakonpanom
Municipality, Nakonpanom.


Nephrology Society of Thailand. (1979). The Practical Guidelines for the pre-medication
of the Chronic Renal Failure. Bangkok.

Supaporn Ongsuriyanondh. (2008). Self-care BehaviorDevelopment among Chronic Renal
Disease (CRD) Patients at Chaoprayayomraj Hospital Suphanburi Province. Journal of Public Health and Development 6 (1).