กลยุทธ์การเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในจังหวัดชลบุรีเพื่อดึงดูดกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล

Main Article Content

อังสุมาลิน จำนงชอบ
ล่ำสัน เลิศกูลประหยัด
กมลวรรณ คารมปราชญ์คล้ายแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต ่อการเพิ่มโอกาส
ทางการแข่งขันของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดชลบุรีและเพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการแข่งขัน
ที่สามารถดึงดูดกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลที่เหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ของจังหวัดชลบุรีโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์
ผู้ที่มีส่วนส�ำคัญในการก�ำหนดนโยบาย และวางแผนการจัดการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี
จ�ำนวน 3คน และการใช้แบบสอบถาม เพื่อทราบความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว
และนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติโดยผลการวิจัย สามารถน�ำมา
วิเคราะห์เป็นจุดแข็งของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดชลบุรีดังนี้ชลบุรีมีแหล่งทรัพยากร
ธรรมชาติที่มีศักยภาพสูงมีความสวยงามไม่แพ้จังหวัดชายฝั ่งทะเลอื่น ๆ มีการพัฒนาทาง
การเกษตรที่หลากหลายท�ำให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นจ�ำนวนมาก อีกทั้งยังมีระยะทาง
ที่ใกล้กรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้สะดวก นอกจากนี้ยังมีแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนให้เกิด
กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์เช่น ป่าชายเลน พิพิธภัณฑ์หรือแม้กระทั่ง
ศูนย์อนุรักษ์พันธ์พืชและสัตว์ แต ่ในขณะเดียวกัน งานวิจัยก็ได้พบปัญหาด้านการบริหาร
ความได้เปรียบทางการแข่งขัน อาทิการประกอบธุรกิจที่ไม่มีความแตกต่างกันในด้านสินค้า
และบริการ โดยเฉพาะการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว รูปแบบกิจกรรม รวมไปถึงช่องทางการ
จัดจ�ำหน่าย และการตลาด การขาดการบูรณาการร่วมกัน ในลักษณะเครือข่าย (Networking)
การกระจุกตัวของธุรกิจ และกิจกรรมการท่องเที่ยวในบางพื้นที่ รวมถึงปัญหาทรัพยากรบุคคล
ด้านการท่องเที่ยวขาดแคลน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางแก้ไข และกลยุทธ์ในการเพิ่มโอกาส
ทางการแข่งขันของจังหวัดชลบุรีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลไว้3 ประการ คือ1) กลยุทธ์การเพิ่มมูลค่า (Value Added) 2) กลยุทธ์ความหลากหลาย (Value Diversity)
และ 3) กลยุทธ์การสร้างสรรค์(Value Creation)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยว, กรม. สถิตินักท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ, 2554.

ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, กรม.ระบบฐานข้อมูลกลางและมาตรฐานข้อมูลทรัพยากร
ทางทะเลและชายฝั่ง: จังหวัดชลบุรี (ออนไลน์)2556(อ้างเมื่อ30กันยายน2558).
จากhttps://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/koh_chonburi/#.VgtyIPntmko

ส�ำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการส�ำรวจสถิติ
การจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดงานแสดงสินค้า/
นิทรรศการนานาชาติในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานส่งเสริมการจัดประชุม
และนิทรรศการ, 2554.

.แนวทางการปฏิบัติด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมส�ำหรับอุตสาหกรรมการจัดประชุม
สัมมนาและนิทรรศการ (ออนไลน์) 2555 (อ้างเมื่อ 20 สิงหาคม 2555).จาก
https://www.greenmeetingsthailand.com/book/th/

Hassan, S.“Determinants of market competitiveness in an environmentally
sustainable tourism industry”.Journal of Travel Research. 38, 3
(February 2000) : 239-245.

Heath, E. and Wall, G. Marketing tourism destinations: A strategic planning
approach. New York: John Wiley & Sons, INC, 1992.

IncentiveResearchFoundation. The Market for Incentive Travels, Motivational
Meetings, and Special Events. New York: Incentive Research
Foundation, 2008.

Inkeep, E.Tourism planning: An integrated and sustainable development
approach. New York: Van Nostrand Reinhold, 1991.

Porter, M. E. The competitive advantage of nations. London: The McMillan
Press, 1998.

Society of Incentive and Travel Executives. Resource Manual. New York, 2001.

World Travel and Tourism Council. A catalyst for economic performance.
London: Abbey House, 2011.

Yoon, Y. Determinants of urban residents perceived impacts: A study of
Williamsburg and Virginia Beach areas (Unpublished). Virginia:
Polytechnic Institute and State University, Blacksburg. 1998.