ภาวะการณ์ดิ้นรนและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
“ภาวะการณ์ดิ้นรนและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต”มุ่งหมายเพื่อศึกษาและแสดงออกถึงสาระของภาวะการณ์ดิ้นรนและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต เพื่อสร้างสรรค์ผลงานสื่อประสม ในรูปแบบของการจัดวาง โดยการรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ ธรรมชาติ ท้องทุ่ง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่างๆข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับวาดเส้นสร้างสรรค์ ศิลปะร่วมสมัย ศิลปะสมัยใหม่ องค์ประกอบศิลป์และอิทธิพลจากผลงานศิลปกรรมของ มณเฑียร บุญมา, Clinton De Menezes, Paul Cummins วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความชัดเจนของแนวเรื่อง รูปทรงสัญลักษณ์ และเทคนิคกลวิธี สร้างสรรค์โดยใช้ทัศนธาตุ วัสดุกลวิธีและหลักการทางทัศนศิลป์ เพื่อตอบสนองแนวความคิด
ผลการสร้างสรรค์ พบว่าการสร้างสรรค์งานศิลปะ ภาวะการณ์ดิ้นรนและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต มีลักษณะที่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ รูปทรงที่แสดงการเคลื่อนไหว การสร้างความรู้สึกบางอย่างให้เกิดการเคลื่อนไหวด้วยการเรียงดินเผา โดยอาศัยสีของดินเผานำมาจัดวางให้เกิดการแสดงภาวะการณ์ดิ้นรนและการเปลี่ยนแปลงของภาพสะท้อนของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายการเริ่มจากสิ่งเล็กและเริ่มเจริญเติบโต การสะท้อนให้ทุกคนเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกช่วงเวลา เป็นความจริงที่หากสังคมภายนอกได้รับรู้และเข้าใจในแนวคิดดังกล่าวก็จะสามารถเข้าถึงหลักความเป็นจริงของชีวิตผลจากการสร้างสรรค์ดังกล่าวก่อให้เกิดข้อค้นพบใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะตน
Article Details
References
จำนง อดิวัฒนสิทธ์. (2530). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ.
ชะลูด นิ่มเสมอ. (2544). องค์ประกอบศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยพานิช.
ชัชพล ทรงสุนทรวงค์. (2546). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
เอกณริน แคล่วคล่อง.(2553). พื้นที่ : สภาวะแห่งการดิ้นรน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาจิตรกรรม ภาควิชาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
วัฒนธรรมอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรพงษ์ โชคพานิชย์. (2555). ภาพสะท้อนวัฎจักรของธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วาทิตย์ เสมบุตร (2556). พลังความเปลี่ยนแปลงของธาตุธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.