ตัวอย่างมิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เพื่อนำเข้าสู่การออกแบบสร้างสรรค์

Main Article Content

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำมิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เข้าสู่การออกแบบ
สร้างสรรค์ เป็นผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรมในรูปแบบใหม่ อันเกิดจากการผสมผสานและการประยุกต์ใช้ภูมิ
ปัญญาพื้นถิ่น ในการส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมในท้องถิ่นให้มีสินค้ามากขึ้น และได้รูปแบบที่สามารถนำไป
พัฒนาและต่อยอดทางความคิด ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยแบ่งกระบวนการศึกษาเป็น

3 ส่วน ประกอบด้วย 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกและเทคนิคการสนทนากลุ่มในศึกษาข้อมูลกับชุมชนและ
หน่วยงานภาครัฐ 2) เทคนิคการวิจัยแบบมีส่วนร่วม สำหรับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมกับกลุ่ม
ชุมชนศิลปหัตถกรรม 6 ชุมชน ในจังหวัดลำปาง และ จ. เชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง

3) แบบสอบถาม สำหรับประเมินผลการศึกษาและสำรวจความคิดเห็นของประชาชนจำนวน 500 คน ที่มีต่อ
ผลงานผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม ผลลัพธ์งานวิจัยได้แก่ 1) ผลการสัมภาษณ์และบันทึกการสนทนาได้
มุ่งเน้นการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นแนวคิดนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์
ชุมชนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม เกิดเป็นผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ แตกต่างจากผลิตภัณฑ์
เดิมและเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาด รวมถึงการต่อยผลิตภัณฑ์เดิมให้มีมูลค่ามากขึ้น 2) ตัวอย่าง
ผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม อันเกิดจากการบูรณาการมิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชุมชน โดยใช้กรอบ
แนวคิดการออกแบบหัตถอุตสาหกรรมในการวิเคราะห์ จำนวน 3 ผลงาน โดยใช้มิติทางวัฒนธรรมจาก ตัว
เหงาล้านนา, หม้อดอกปูรณฆฏะ และแบบอย่างศิลปหัตถกรรมล้านนา 3) ผลการประเมินความคิดเห็นต่อ
ผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม โดยใช้แนวคิดบูรณาการมิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชุมชน ในการออกแบบ
และพัฒนานั้นอยู่ในระดับที่ดีที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทวงอุตสาหกรรม. (2543). รูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริม
อุตสาหกรรม.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2562). คู่มือแนวทางและหลักเกณฑ์การ คัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย. สำนัก
ส่งเสริมภูมิ ปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2560). พัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้กรอบแนวคิดการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
Industrial Crafts Design Framework (Grow-Reborn). ขอนแก่น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
9(2), 333-366.
กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2563). จากงานวิจัย โครงการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม จากการ
ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(สกว.) ฝ่ายชุมชนและสังคม.
ปิยะวัติ บุญ-หลง, กาญจนา แก้วเทพ, บวร ปภัสราทร. (2559). งานวิจัยเพื่อสังคม : หลักการและวิธีการ. กรุงเทพฯ :
สถาบันคลังสมองของชาติ.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2559). พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ Theory and Concept of Design. กรุงเทพฯ :
แอ๊ปป้าพริ้นท์ติ้ง.
Nationtv. (2010). Purna-ghata. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2562, จาก http://www.oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=621866