การออกแบบสารรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ

Main Article Content

Nitta Roonkaseam

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง “การออกแบบสารรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบสารรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และประสิทธิผลในการรณรงค์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลในฐานะผู้ส่งสารของมูลนิธิฯ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และผู้ให้ข้อมูลในฐานะผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายของมูลนิธิฯ ด้วยการตอบแบบประเมินกระบวนการสื่อสารออนไลน์ของมูลนิธิฯ 1,405 คน


          ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการออกแบบสารรณรงค์ ประกอบด้วยการคัดเลือกสารเพื่อมานำเสนอในช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ได้แก่ เนื้อหาจากข่าวแจก เนื้อหาจากกิจกรรม และข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ (2) การออกแบบสารด้วยการแปลงสารให้เข้ากับช่องทางการสื่อสารออนไลน์แต่ละประเภท การแปลงรูปแบบการนำเสนอ และการคงเนื้อหาและรูปแบบตามเดิม และ (3) การนำเสนอสารด้วยหลักการนำเสนออย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ และมีความต่อเนื่อง และ (2) ประสิทธิผลในการรณรงค์ พบว่าช่องทางการสื่อสารออนไลน์ของมูลนิธิฯ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ www.facebook.com/ashthailand คิดเป็น ร้อยละ 69.5 ผู้รับสารรู้สึกว่ามูลนิธิฯมีความจริงใจในการสื่อสารข้อมูลเรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 40.00 ในการรับรู้ข้อมูลจากการสื่อสารของมูลนิธิฯ ประเด็นที่สื่อสารได้มากที่สุด คือ “บุหรี่ตัวร้าย ทำลายปอด” คิดเป็นร้อยละ 63.13 สำหรับผลที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ข้อมูลมากที่สุด ได้แก่ การหยุด/เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในบ้านของตนเอง/คนในครอบครัว/สังคม คิดเป็นร้อยละ 55.80 และความพึงพอใจต่อช่องทางการสื่อสารออนไลน์ของมูลนิธิฯ มากที่สุด คือ การมีข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย คิดเป็นร้อยละ 70.5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). “ทฤษฎีการสร้างสาร” เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสารใน
งานนิเทศศาสตร์ นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิษฐา หรุ่นเกษม. (2560). “การเลือกและการสร้างสารสำหรับการสื่อสารชุมชน” เอกสารการสอนชุดวิชา
ความรู้และทักษะการสื่อสารชุมชน หน่วยที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิษฐา หรุ่นเกษม. (2561). “ผู้บริโภคและการสื่อสารในยุคดิจิทัล” เอกสารการสอนชุดวิชาหลักการ
ประชาสัมพันธ์และโฆษณา. หน่วยที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิษฐา หรุ่นเกษม นิศรารัตน์ วิไลลักษณ์ และ ปรัชญา ทองชุม. (2563). โครงการวิจัยและประเมินผล
กระบวนการสื่อสารออนไลน์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่.
ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2551). การสื่อสารประเด็นสาธารณะและการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน: จากแนวคิดสู่
ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). BRANDiNG 4.0. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
วยุรฉัตร สุบิน. (2561). “พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่: ความหมายและมุมมองของนักสูบในบริบทของชุมชน” ใน
สิทธิโชค ชาวไร่เงิน. (2561). งานวิจัยวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ: สุรา ยาสูบ. นนทบุรี:
สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.
หริสุดา ปัณฑวนันท์. (2544). การสื่อสารและเครือข่ายการรณรงค์เมาไม่ขับ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร
มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Baskerville, N., Azagba, S., Norman, C., McKeown, K. & Brown, K. (2015). Effect of a Digital Social Media Campaign on Young Adult Smoking Cessation. Nicotine & tobacco
research: official journal of the Society for Research on Nicotine and Tobacco. 18. 10.1093/ntr/ntv119.
Lantza, P. M. et al. (2000). Investing in youth tobacco control: a review of smoking
prevention and control strategies. Tobacco Control 2000; 9 1-2. DIO: 10.1136/tc.9.1.1
Lee, Y. O. ea al. (2014). Maximizing the Impact of Digital Media Campaigns to Promote
Smoking Cessation: A Case Study of the California Tobacco Control Program and the California Smokers' Helpline. Californian journal of health promotion, 12(3), 35–45.
Schmidt, A. M.; Ranney, L. M.; Pepper, J. K. & Goldstein, A. O. (2016). Source Credibility in
Tobacco Control Messaging. Tobacco Regulatory Science, Number 1, January 2016, pp. 31-37(7). DOI: https://doi.org/10.18001/TRS.2.1.3