การมีส่วนร่วมของราษฎรผู้เข้าร่วมโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ จังหวัดเลย

Main Article Content

กฤติลักษณ์ กันโต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม ข้อมูลทั่วไป ระดับการมีส่วนร่วม และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของราษฎรผู้เข้าร่วมโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ จังหวัดเลย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลกับราษฎรผู้เข้าร่วมโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ จังหวัดเลย จำนวน 291 ครัวเรือน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานตัวสถิติที (t-test) และสถิติเอฟ (F – test) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05


ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.20 มีอายุเฉลี่ย 51.33 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 42.30 มีรายได้เฉลี่ย 86,995 บาทต่อปี รายจ่ายเฉลี่ย 82,745 บาทต่อปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 30.46 ไร่ ราษฎรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม ร้อยละ 76.30 มีการพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้เฉพาะใช้สอยในครัวเรือน ร้อยละ 91.80 เคยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ร้อยละ 85.60 เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ร้อยละ 64.90 และมีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ระดับสูง ร้อยละ 52.92 ราษฎรมีส่วนร่วมต่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.19
ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของราษฎรที่มีต่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ได้แก่ รายได้ของครัวเรือน การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กรมป่าไม้. (2562). เนื้อที่ป่าไม้ของประเทศไทย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.
กรุณา ส่งแสง. (2553). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนันท์เศรษฐ์ ประสิทธิสาร. (2557). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูระงำ อำเภอแวงใหญ่และอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา, กรุงเทพฯ.
พิมพา ผ่องศรี. (2557). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต้นน้ำแม่ถาง - แม่คำปอง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักพระราชวัง. (2557). คู่มือการปฏิบัติงานโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. เอกสารเผยแพร่. สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, กรุงเทพฯ.
Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Testing. Harper and Row, New York.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper International Edition, Tokyo.
References
Bureau of the Royal Household. (2014). A Guide to Working on the Forest-Generating Income Project under the Royal Initiative of H.R.H. Princess Maha Chakri Siam Princess Royal. Publication documents. Office of the Princess Maha Chakri Sirindhorn Project, Bangkok.
Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Testing. Harper and Row, New York.
Phongsri P. (2014). Patterns of Community Participation on Forest Resource Conservation at Mae Thang - Mae KumPong Head Watershed, Rong Kwang District, Phrae Province. Master Thesis, Kasetsart University.
Royal Forest Deparment. (2019). The forest of Thailand. Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok.
Songsang K. (2010). People Participation in Forest Resource Conservation at Tambon Khao Pu, Amphoe Si Banphot, Changwat Phatthalung. Master Thesis, Kasetsart University.
Prasitthisarn T. (2014). Participation of People in Forest Resource Conservation at Pa Phu Ra-ngum National Reserved Forest, Waeng Yai and Chonnabot Districts, Khon Kaen Province. Master Thesis, Kasetsart University.
Thawirat P. (2000). Behavioral Science and Social Sciences Research. 7th edition, Bureau of Educational and Psychological Testing, Bangkok.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper International Edition, Tokyo.