รูปแบบการย้ายถิ่น วิถีชีวิต และการปรับตัวของแรงงานชาวไทใหญ่ ในโรงงานไม้แปรรูปในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม

Main Article Content

อนุสรา หมื่นชัย

บทคัดย่อ

ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา แรงงานชาวไทใหญ่ได้มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการย้ายถิ่น วิถีชีวิต และการปรับตัว
ของแรงงานชาวไทใหญ่ในโรงงานไม้แปรรูปในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการสัมภาษณ์
แรงงานชาวไทใหญ่ทั้งหมด 32 คน ที่ทำงานในโรงงานไม้แปรรูปและพักอาศัยในชุมชนท้องถิ่น ผลการศึกษา
พบว่า แรงงานชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาในพื้นที่ศึกษามากที่สุดในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2541-2550 โดยผ่าน
ช่องทางด่านหนองอุก อำเภอเชียงดาว มากที่สุด และปัจจัยผลักดันจากต้นทางได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ และ
การเมือง ปัจจัยดึงดูดในพื้นที่ปลายทาง ได้แก่ การขาดแคลนแรงงานและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
โดยการตัดสินใจย้ายถิ่นนี้มีปัจจัยด้านเครือข่ายทางสังคม (ญาติ และเพื่อน) เกื้อหนุน เมื่อย้ายถิ่นสู่พื้นที่
ปลายทางแล้ว แรงงานเหล่านี้สามารถปรับตัวในด้านการทำงานและการอยู่ร่วมกับชุมชนท้องถิ่นได้
ค่อนข้างดี แม้จะมีปัญหาจากการปรับตัวในช่วงแรกบ้าง โดยปัญหาที่พบมากที่สุด ได้แก่
ปัญหาด้านการสื่อสาร และปัญหาด้านชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร
โดยในภาพรวมแล้วแรงงานเหล่านี้สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขร่วมกับคนในชุมชน
ผ่านความเชื่อและประเพณีของการนับถือพุทธศาสนาที่มีวัดเป็นศูนย์กลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563, จาก https://cep.cdd.go.th/เกี่ยวกับ-otop/ข้อมูลทั่วไปotop
ขวัญชีวัน บัวแดง. (2554). การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของทายาทรุ่นที่ 2 ของผู้ย้ายถิ่น จากประเทศพม่า (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พรรณิดา ขันธพัทธ์ และ นันท์ชญา มหาขันธ์. (2558). การปรับเปลี่ยนวิถีทางประเพณีพิธีกรรมความเชื่อและอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558, 23(41), 179-199.
พวงเพชร์ ธนสิน. (2554). ทายาทรุ่นที่2 ของผู้ย้ายถิ่นจากประเทศพม่า: สถานการณ์และการอพยพ โยกย้าย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Lee, E. S. (1966). A theory of migration. Demography, 3(1), 47-57.
Massey, D. S., Arango, J., Hugo, G., Kouaouci, A., Pellegrino, A., & Taylor, J. E. (1993). Theories of international migration: A review and appraisal. Population and development review, 19(1), 431-466.
Roy, C., & Andrews, H. A. (Eds.). (1999). The Roy adaptation model (2nd ed.). Stamford, CT: Appleton & Lange.