ความพึงพอใจของผู้มาเยือนต่ออ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

วรัตถ์ ห้าวหาญคุณธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และข้อมูลทั่วไป เพื่อศึกษา
ระดับความพึงพอใจ และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้มาเยือนต่ออ่างเก็บน้ำห้วย
แม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือน
กันยายน 2563 รวมจำนวน 140 ราย ใช้สถิติที (t-test) และสถิติเอฟ (F-test) ในการทดสอบสมมติฐานโดย
กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า ผู้มาเยือนที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 75 คน มีอายุเฉลี่ย
25 ปี ประกอบด้วยชาติพันธุ์ทั้งหมด 5 ชาติพันธุ์ มีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพหลัก
เป็นพนักงานบริษัท มีรายได้ต่อเดือนสูงสุดระหว่าง 2,000–35,000 บาท/เดือน ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลัก
ในการมาเยือนเพื่อพักผ่อนหย่อนใจและมีจำนวนครั้งเฉลี่ยในการมาเยือนต่อเดือนเท่ากับ 5 ครั้ง/เดือน
มีระยะทางในการเดินทางจากที่พักจนถึงอ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอดเฉลี่ย 7 กิโลเมตร ผู้มาเยือนมีความพึงพอใจ
ต่ออ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 โดยไม่มีปัจจัย
ใดที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้มาเยือนต่ออ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมชลประทาน. (2562). อ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอด. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.ridtak.org/th/gisshow.php?Place_id=2
ธีระศักดิ์ คำห้าง. (2555). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการของอุทยานแห่งชาติแม่วะ จังหวัดลำปาง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท), คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.
พระอธิการทวีศักดิ์ กิตติญาโน. (2561). การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. ปัญญา, 25(1), 51-63.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
มงคล ลิ่ววิริยกุล. (2556). ความพึงพอใจของผู้มาขอรับบริการต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ด่านป่าไม้สุไหงโก - ลก อำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดนราธิวาส. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท), คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.
Krejcie, R. V. and E. W. Morgan. (1970). Educational and Psychological Mensurement. Texas
University, Texas.

Translated Thai References

Royal irrigation department. (2020). Huai Mae Sod Reservoir. Retrieved 23 July 2020 from http://www.ridtak.org/th/gisshow.php?Place_id=2
Teerasak Komhang. (2012). Tourist's satisfaction towards facilities and services of Mae Wa National Park, Changwat Lampang. (Independent study,Master’s degree), faculty of forestry, Kasetsart University,Bangkok.
Phra-athikarn Taweesak Kittiyano. (2018). Lifestyle and change of the karen community, Phrapath Huai Tom village, Na Sai sub-district, Li district, Lamphun province.
Phuangrat, T. (1997). Research Methods in Behavioral Sciences and Social Sciences. Chulalongkorn University Press, Bangkok.
Mongkhon Lewviriyakul. (2013). Satisfactions of service recipients on services of officers at SU-ngai Kolok forest check point,Amphoe Su-ngai Kolok,Changwat Narathiwat. (Independent study,Master’s degree), faculty of forestry, Kasetsart University,Bangkok. Panya, 25(1), 51-63
Krejcie, R. V. and E. W. Morgan. (1970). Educational and Psychological Mensurement. Texas
University, Texas.