ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และคุณภาพการให้บริการเน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ต้นน้ำ นิยมาภา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการเน็ตฟลิกซ์ ในเขต
กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดและระดับคุณภาพการให้บริการเน็ตฟลิกซ์ในเขต
กรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดเน็ตฟลิกซ์ในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อ
เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการเน็ตฟลิกซ์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้วิธีการ
รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือก
กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้ที่ใช้บริการเน็ตฟลิกซ์ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 385 คน
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ
สมมติฐาน ด้วยการวิเคราะห์ค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการ
ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 21-30 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 15,001–25,000
บาท มีระดับส่วนประสมทางการตลาดของเน็ตฟลิกซ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นราย
ด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านผลิตภัณฑ์ เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนระดับคุณภาพ
การให้บริการเน็ตฟลิกซ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับ
มากที่สุด โดยด้านความน่าเชื่อถือ เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดและผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า
ผู้ใช้บริการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่างกันให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาด
แตกต่างกัน โดยผู้ใช้บริการที่มีเพศ และระดับการศึกษาต่างกันให้ความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการ
แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Areepermporn, P. (2020). Covid-19 makes more people at home watching streaming Netflix sees an additional 15.7 million new users.Accessed on May 6, 2020, retrieved from https: / /thestandard.co/netflix-earnings-15-7-million-new-subscribers-amid-covid-19.
Cochran, W.G. (2007). Sampling Techniques. Experimental Designs, New York.
Jaihao, P. (2019). Marketing Mix Factors Affecting Choices To Watch Movies Online Online. In the province of Nakhon Si Thammarat Chalermprakiat Branch Nakhon Si Tham Province Ramkhamhaeng University.
Lertpitaktham, S. (2016). Service quality and brand image influencing intention of using broadband internet service. Master's Degree in Personal Education, Bangkok University.
Mgronline. (2019). Expect Thai Netflix user base to surpass 546,000 yearly next year [online system]. Reached when 6 January 2020, retrieved from https://mgronline.com/ cyberbiz/detail/9620000038918.
National Institute of Development Administration. (2018). Thai movie viewing behavior. Reached when 5 January 2020, Retrieved from https://nidapoll.nida.ac.th/data/ cooperationlist /uploads/ FILE-1596680432876.pdf.
Onsri, N. (2011). Service quality of Customer Service Center TOT Public Company Limited, Chaengwattana Head Office. Independent research Master of Business Administration Faculty of Business Administration Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Sengsawat, K. (2018). Guidelines for improving the quality of online service of businesses that sell package tours. Srinakharinwirot Business Administration Journal Year 9 No. 2 July - December 2018.
Silawisetrit, P. (2012). Relationship between Unified Marketing Communications (IMC) and purchase decision hierarchy. Eco-products of Generation Y consumers in Bangkok. Master of Business Administration, Graduate School Bangkok University.
Thamcharoen, N. (2019). Factors Influencing Behavior of Internet Streaming Viewers in Chonburi Province. Peace Studies Journal, Periscope, Mahidol University, Year 7, Issue 5 (September - October 2019).
Tungjang, A. (2017). Factors influencing the decision to choose to watch programs through online media. Faculty of Commerce and Accountancy Thammasat University.
Weerawut, W. (2019). Media Exposure Behavior and Netflix Application Satisfaction of Domestic Netflix Users. Master of Communication Arts, Strategic Communication, Graduate School. Bangkok University.