การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานความปกติใหม่ (New Normal) เพื่อรองรับ สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ชุมชนหนองฮะ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชนหนองฮะ อำเภอ
ห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษาผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 และความต้องการปรับตัวของชุมชน และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่
มาตรฐานความปกติใหม่ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ 1) ผู้นำ
ชุมชน 2) ผู้นำจากสถาบันศาสนา และ 3) ผู้นำจากสถาบันการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ
แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการประชุมระดมความคิดเห็น ผลการศึกษาพบว่า 1) ศักยภาพด้านการ
ท่องเที่ยวของชุมชน มีความสอดคล้องกับ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” ปรากฏอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์
ลาว ที่มุ่งเสนอการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นวิถีชีวิต 2) กรณีผลกระทบด้านการท่องเที่ยว พบว่าตั้งแต่เดือนมีนาคม–
สิงหาคม พ.ศ. 2563 ไม่สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวได้ ทว่าคนในชุมชนต้องการหารายได้ทดแทนโดยการ
ผลิตสินค้าอัตลักษณ์ชุมชนจำหน่าย และ 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน คนในชุมชนเห็นว่า
มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) นั้นมีความเหมาะสม มีการจัดโครงสร้าง 3 ด้าน คือ
ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ใน 3 ระยะ ได้แก่ 1) การต้อนรับนักท่องเที่ยว
กำหนดจุดคัดกรอง เช็คอิน โดยมี อสม.เข้ามามีส่วนร่วม 2) การให้บริการนักท่องเที่ยว เช่น บริการอาหาร
เครื่องดื่ม และ ที่พักเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย เช่น การแยกภาชนะ และการกำหนดขีด
ความสามารถในการรองรับ และ 3) การส่งนักท่องเที่ยว มีการให้เช็คเอาท์ ประเมินการให้บริการ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นการท่องเที่ยวชุมชนมาตรฐานความปกติใหม่ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้แก่ ชุมชนอื่น ๆ
ในจังหวัดศรีสะเกษได้อีกด้วย
Article Details
References
. (2563). โควิด-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). แผนดำเนินงานโครงการมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration: SHA). กรุงเทพฯ: ททท.
นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2563). การปรับตัวทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในสภาวะวิกฤตโควิด 19 ในประเทศไทย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.
ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2563). คู่มือเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและแรงงานผ่าน
การท่องเที่ยวแนวปฏิบัติในการเยียวยาสังคมและเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อ
ไวรัสโควิด-19 รวมถึงการฟื้นฟูการท่องเที่ยวให้กลับคืนอย่างเร่งด่วน. กรุงเทพฯ: อพท.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวในวิกฤต COVID-19. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์.
. (2563). อนาคตของการท่องเที่ยวอยู่ตรงไหนในยุคโควิด-19. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์.
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2563). แนวทางป้องกันโควิด-19 สำหรับชุมชนท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนัก เลขาธิการนายกรัฐมนตรี.
อรพรรณ ปถมเล็ก. (2563). ธรรมชาติเชิงวิพากษ์ : การท่องเที่ยวชุมชนในประเทศไทย: ผลกระทบและการฟื้นฟู จากการระบาดของโรค COVID-19. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ASEAN Tourism Association. (2020). Stabilising Cost of Travel Key to Minimising COVID-19 Impact. Putrajaya: ASEANTA.
Pacific Asia Travel Association. (2020). PATA Conducts “The Future of Tourism” Interview Series to Provide COVID-19 Recovery Insights. Bangkok: PATA.
World Tourism Organization. (2020). COVID-19 Related Travel Restrictions. Madrid: UNWTO.
World Tourism Organization. (2020). Covid-19 Tourism Recovery Technical Assistance Package. Madrid: UNWTO.
Translated Thai Reference
Anusonphat. N. (2020). Tourism and economic adaptation during Coronavirus disease 2019 in Thailand. Phranakhon Si Ayutthaya: Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University.
Creative Economy Agency. (2020). Covid-19 crisis and tourism. Bangkok: Creative Economy Agency.
. (2020). Future of tourism and Covid-19. Bangkok: Creative Economy Agency.
Ministry of Tourism and Sports. (2020). Covid-19 and tourism impact. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.
. (2020). Tourism situation in Thailand 1/2020. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.
Pathomlek. O. (2020). Critical nature: Community-based tourism in Thailand, impace and recover from Covid-19 . Bangkok: Center for social development studies, Chulalongkorn University.
Secretariat of the Prime Minister. (2020). Guideline for protect tourism community from Covid-19. Bangkok: Secretariat of the Prime Minister.
Suansri. P. (2003). Community-based tourism handbook. Bangkok: Pimlack.
Tourism Authority of Thailand. (2020). Amazing Thailand Safety and Health Administration: SHA. Bangkok: TAT.
Thailand Excellence Center for Sustainable Tourism. (2020). Handbook for support economics and labour in tourism industry and recover social-economics from the Covid-19 impact. Bangkok: DASTA.