การศึกษากลวิธีการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาจีน : กรณีศึกษา ร้านอาหารไทยในนครเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

เนตรน้ำทิพย์ บุดดาวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาจีน
2) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกลวิธีการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาจีน โดยเก็บข้อมูลรายชื่ออาหาร จำนวน
493 รายชื่อ จากร้านอาหารไทยในนครเฉิงตูที่ได้รับเครื่องหมายไทยซีเล็คท์จำนวน 11 ร้าน
ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีการแปลมีทั้งหมด 9 วิธี ดังนี้ 1) ทับศัพท์ 2) ตรงตัว 3) ตัดความ
4) เติมคำหรือเสริมด้วยข้อความ 5) ใช้คำกว้าง ๆ ทั่วไป 6) ใช้คำเจาะจง 7) ใช้คำเทียบเท่า 8) แทนที่ด้วย
วัฒนธรรมภาษาแปล 9) ตั้งชื่อใหม่ โดยกลวิธีที่พบมากที่สุดคือ การแปลแบบเติมคำหรือเสริมด้วยข้อความ
ส่วนกลวิธีการแปลที่พบน้อยที่สุดคือ การแปลแบบแทนที่ด้วยวัฒนธรรมภาษาแปล ทั้งนี้ งานวิจัยนี้ได้ให้
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกลวิธีการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาจีน คือ 1)กลวิธีการแปลชื่ออาหารประเภทแกง
และต้ม โดยใช้คำว่า“ทัง” 2) กลวิธีการแปลชื่ออาหารประเภทผัด โดยใช้คำว่า “เฉ่า” 3) กลวิธีการแปลชื่อ
อาหารประเภทยำ โดยใช้คำว่า “เหลียงปั้น” 4) กลวิธีการแปลชื่ออาหารประเภททอด เผา ย่าง หรือนึ่ง
โดยใช้คำว่า “จ๋า” หรือ “เจียน” การเผาหรือย่างใช้คำกว้าง ๆ ว่า “ข่าว” และการแปลชื่ออาหารประเภทนึ่ง
ใช้คำรวมว่า “เจิง”

Article Details

บท
บทความวิจัย