การศึกษาบริบทและแนวทางการพัฒนาชุมชนบ้านนาเยีย ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนในการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างมีส่วนร่วม บ้านนาเยีย ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี คัดเลือกเป็นพื้นที่เพื่อดำเนินการพัฒนา โดยศึกษาบริบทชุมชนด้านกายภาพ ชีวภาพ และด้านเศรษฐกิจ และการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) และการสัมภาษณ์ ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi –structured Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Workshop) และการจัดตั้งทีมงานหลัก (Core Team) เพื่อเป็นคณะทำงานในการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน จากผลการวิจัยพบว่า บ้านนาเยียมีลักษณะทางกายภาพเป็นพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เป็นพื้นที่ดอนและพื้นที่ลุ่ม มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินในการทำการเกษตรการทำนา และการทำไร่ยางพารา และมีแม่ลำน้ำโดมอยู่ทิศตะวันออกของหมู่บ้านที่เป็นเขตกั้นระหว่างอำเภอนาเยียและอำเภอพิบูลมังสาหาร หลังจากฤดูการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรจะมีการปลูกพืชผักสวนครัว เช่น ข้าวโพด ถั่วฟักยาว พริก แตงโม ด้านชีวภาพมีพื้นที่ป่าสาธารณะเป็นป่าประเภทป่าเต็งรัง และด้านเศรษฐกิจ รายได้ส่วนใหญ่มาจากการเกษตรและรับจ้างทั่วไป ชุมชนบ้านนาเยียสามารถจัดทำแผนพัฒนาชุมชน แบบมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนทั้งหมด 3 แผน 9 ข้อเสนอแนะ 11 โครงการ ได้แก่ แผนพัฒนาเกี่ยวกับด้านสุขภาพ โรคเรื้อรัง โรคติดต่อ และยาเสพติด แผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และแผนพัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชน จากแผนพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ในครั้งนี้เป็นแผนพัฒนาความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชุมชน ซึ่งแผนและโครงการดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพและการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับชุมชนฐานรากของชุมชนนาเยีย ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ในโอกาสต่อไป
Article Details
References
พัฒนาชมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรมการพัฒนาชุมชน
ประเวศ สะสี. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์ท็อป.
มานิต กิตติจูงจิต. (2555). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิถีชีวิตแห่งความสมดุล. กรุงเทพฯ: กิจอักษร
วิภาดา มุกดา. (2557). แนวทางการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหน่งผลิตภัณฑ์ จังหวัด
ตาก. วารสารวิจัย มสด สาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 10 (1), 187-205
ศิริพงษ์ นิมมา. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
หินลาด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัยการปกครอง
ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุทธิดา ศิริบุญหลง. (2554). การพัฒนาแบบยั่งยืน : กระบวนการกระทำทางเศรษฐกิจสังคม (metabolism) และการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเชิงสร้างสรรค์. แหล่งที่มา: http://www.oocities.org/tokyo/dojo/6860/suthida.htm, 18 เมษายน 2563
สนธยา พลศรี. (2542). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏสงขลา
Alastair, T.W. (1982). Why Community Participation. New York : Macmillan.
Bouneaw, J. (2007). The Participation in Research for Locally. Chiang Mai : Chiang Mai University.
UN. Department of Economic and Social Affair. (1960). Community Development
and Relateds Service. New York : United Nation Republication.