ผลงานนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ไหลโคมล่องโขง 12 นักษัตร

Main Article Content

Pinmanee Saramai

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมา และรูปแบบของประเพณีไหลโคมของชาวบ้านด่าน ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อสร้างสรรค์การแสดงชุด ไหลโคมล่องโขง 12 นักษัตร โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม บุคลากรผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และบุคคลทั่วไป ผลการวิจัย พบว่า


1) บ้านด่าน ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการสืบทอดภูมิปัญญาการประดิษฐ์โคมลอยมาแต่บรรพบุรุษ มีรูปแบบที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และได้จัดประเพณีไหลโคมล่องโขงในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ การไหลโคมนั้นจะมีการประดิษฐ์โคมไฟกระดาษรูป 12 นักษัตร แล้วนำโคมไปลอยลงแม่น้ำโขงเปรียบเสมือนการสะเดาะเคราะห์หรือนำเอาสิ่งที่ไม่ดีในชีวิตลอยทิ้งไปกับสายน้ำ


2) คณะผู้วิจัย ได้นำประวัติความเป็นมา รูปแบบของประเพณีไหลโคม มาสร้างผลงานนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ องค์ประกอบของการแสดง ได้แก่ ท่ารำ ศึกษาจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวบ้านด่าน โดยใช้แบบแผนของท่ารำจากแม่บทอีสานและเพลงแม่บทใหญ่ บทร้อง กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของประเพณีไหลโคม การอธิษฐานขอขมาพระแม่คงคา ลักษณะนิสัยของ 12 นักษัตร ที่มีความสนุกสนาน ความสวยงาม และความยิ่งใหญ่ของประเพณีไหลโคม ดนตรี เป็นการผสมผสานดนตรีพื้นบ้านอีสานทำนองสรภัญกับทำนองแหล่อีสาน เครื่องแต่งกาย ได้นำการแต่งกายของชาวบ้านด่านมาประยุกต์ขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับการแสดง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายจัดทำหนังสือ. (2535). ประวัติศาสตร์และโบราณคดีอุบลราชธานี. อุบลราชธานี 200 ปี. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.
จุติกา โกศลเหมมณี. (2556). รูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยของนราพงษ์ จรัสศรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 15(1). 153-159.
พระปลัดจตุพร วชิราโณ. (2562). โคม : แนวคิดประวัติศาสตร์และกระบวนการสร้าง อัตลักษณ์วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาแบบล้านนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 7(1). 33-45.
สุริยา สมุทคุปติ์ และคณะ. (2543). การเมืองวัฒนธรรมในบุญผะเหวดร้อยเอ็ด. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.