การสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์ ชุด วาดฟ้อนบายศรี กราบบารมีพระพุทธวิเศษเฮา

Main Article Content

วิราณี แว่นทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของพิธีบายศรีสู่ขวัญงานปิดทองหลวงพ่อพุทธวิเศษ บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี นำมาสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์ ชุด“วาดฟ้อนบายศรี กราบบารมีพระพุทธวิเศษเฮา” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลจากเอกสารเชิงวิชาการและงานวิจัยสร้างสรรค์ด้านนาฏยศิลป์ที่เกี่ยวข้อง สังเกตและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อหารูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน


    ผลการวิจัยพบว่า พระพุทธวิเศษเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวบ้านชีทวน ผู้คนต่างเลื่อมใสศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน พิธีบายศรีสู่ขวัญพระพุทธวิเศษจัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน ชาวบ้านชีทวนและหมู่บ้านใกล้เคียงจะร่วมมือกันจัดงานสมโภชน์เฉลิมฉลองหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ในช่วงวันเพ็ญเดือน 5 เป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า “งานปิดทองหลวงพ่อพุทธวิเศษประจำปี” และประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญพระพุทธวิเศษ มีรูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน คือ 1) ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงเป็นวงดนตรีพื้นบ้านโปงลางประยุกต์ร่วมกับดนตรีสมัยใหม่ 2) เครื่องแต่งกายสร้างสรรค์ขึ้นจาก การนำผ้าทอในชุมชนชีทวน มานุ่งเป็นผ้าถุงลายปลาอีดประยุกต์ยาวกรอมเท้า สวมเสื้อลูกไม้สีขาว ห่มสไบลายมณีชีทวน สวมเครื่องประดับเงิน เกล้าผมมวยทัดดอกพุทธซ้อน 3) กระบวนท่ารำจินตนาการมาจากการสักการะบูชาพระพุทธวิเศษ ด้วยความอ่อนน้อมอย่างสูง ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้าในศาสนาพุทธ 4) พานบายศรีขันหมากเบ็งเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง เพื่อใช้ในพิธีสักการบูชาพระพุทธวิเศษ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง และประชาชน


     


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
จำปา โทนทัย. (2561, 3 พฤศจิกายน). ช่างทำพานไม้ขันหมากเบ็ง อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 บ้านหนองฮีหนองแคน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. สัมภาษณ์.
ชัยณรงค์ ต้นสุข. (2549). นาฏยประดิษฐ์การแสดงพื้นบ้านของวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
นราพงษ์ จรัสศรี. (2562, 29 พฤศจิกายน). ศาสตราจารย์วิจัยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์.
นารี ธานี. (2561, 3 พฤศจิกายน). ช่างทอผ้าชุมชนบ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. สัมภาษณ์.
นิศารัตน์ สิงห์บุราณ. (2556). นาฏยประดิษฐ์ชุด: ตำนานฟ้อนมาลัยข้าวตอก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ปฏิพล คุณมี. 2562, 9 กุมภาพันธ์). ผู้ออกแบบเพลงประกอบดนตรี นักศึกษาสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สัมภาษณ์.
พระครูสุนทรสุตกิจ. (2562, 9 มีนาคม). เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีวิไลทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. สัมภาษณ์.
พิชิต ทองชิน. (2562, 1 เมษายน). ผู้แต่งบทร้องประกอบการแสดง อาจารย์พิเศษสาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สัมภาษณ์.
สิทธิรัตน์ ภู่แก้ว. (2550). การฟ้อนเกี้ยวของหมอลำกลอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.
อาจารี รุ่งเจริญ. (2556). การใช้เอกลักษณ์จากศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประจาจังหวัดสุพรรณบุรี. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
References
Champa Thonthai. (2018, 3 November). The craftman of wooden tray Khan Mark Beng and former village headman of Moo 8 Ban Nong Hee Nong Khan, Chi Thuan Sub-district, Khueang Nai District, Ubon Ratchathani. Interview.

Chainarong Tonsuk. (2006). Choreography of Folk Performance of Roi-Et College of Dramatic Arts. Master’s Thesis in Creative Arts, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University.
Naraphong Jaratsri. (2019, 29 November). Research Professor of Chulalongkorn University. Interview.
Naree Thanee. (2018, 3 November). The weaver of Ban Chi Thuan, Chi Thuan Sub-district, Khueang Nai District, Ubon Ratchathani. Interview.
Nisarat Singburan. (2013). Choreography: Malai Khaotok Legend Dance. Master’s Thesis in Art and Cultural Research, Khon Kaen University.
Patiphorn Khunmee. (2019, 9 February). The music designer, student majoring in Music, Faculty of Humanities and Social Science, Ubon Ratchathani Rajabhat University. Interview.
Phra Khru Sunthorn Sutakit. (2019, 9 March). The abbot of Wat Thung Sri Wilai, Chi Thuan Sub-district, Khueang Nai District, Ubon Ratchathani. Interview.
Pichit Thongchin. (2019, 1 April). The composer of the show's lyrics and guest lecturer of Thai Classical Dance and Drama Program, Faculty of Humanities and Social Science, Ubon Ratchathani Rajabhat University. Interview.
Sitthirat Phukaew. (2007). The Flirting Dance of Mor Lam Klon. Master’s Thesis, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University.
Suraphon Wirunrak. (2004). Principles of Periscope Dance Performance. (1st edition). Bangkok: Dansutha Publishing.
Ajaree Rungcharoen. (2013). The Use of Folk Art Uniqueness to Promote Cultural Tourism: A Case Study of Suphanburi Province. Master’s Thesis in Cultural Management, Graduate School, Chulalongkorn University.