การพัฒนารูปแบบเว็บแอปพลิเคชั่นส่งเสริมกระบวนการ สื่อความหมายเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนเมืองนครพนม

Main Article Content

สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นส่งเสริมกระบวนการ
สื่อความหมายเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนเมืองนครพนม    2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นส่งเสริมกระบวนการสื่อความหมายเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนเมืองนครพนม  และ  3) ศึกษาความพึงพอใจการใช้เว็บแอพพลิเคชั่นส่งเสริมกระบวนการสื่อความหมายเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนเมืองนครพนม  เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ  วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน  ได้แก่ 1) การสังเคราะห์รูปแบบฯ ด้วยเทคนิคการสังเคราะห์เอกสาร  2) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น โดยผู้เชี่ยวชาญ 9 คน   3) ทดลองใช้เว็บแอพพลิเคชั่น  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองนครพนม  ที่เดินทางมาเที่ยวในช่วงเดือน สิงหาคม - กันยายน 2563   จำนวน 400 คน ได้จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสังเคราะห์เอกสาร  2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ  3) แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้เว็บแอพพลิเคชั่น ใช้สถิติ  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


ผลการวิจัยพบว่า


1) รูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นส่งเสริมกระบวนการสื่อความหมายเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนเมืองนครพนม   ประกอบด้วย  5 องค์ประกอบ  ได้แก่ (1) การเข้าถึง (Access)  (2) การสร้างความเข้าใจ (Understanding)  (3) การเผยแพร่ความรู้ใหม่ (Knowledge Distribution)  (4) การมีส่วนร่วม (Inclusiveness) (5) แหล่งข้อมูล (Information Source)


2) รูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นส่งเสริมกระบวนการสื่อความหมายเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนเมืองนครพนมที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมาก ( =4.28,S.D 0.59) 


3) ความพึงพอใจต่อการใช้เว็บแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมาก (  = 4.25 , S.D. 0.69)   มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมประเด็นการเพิ่มส่วนการคำนวณระยะทาง แผนที่ของสถานที่ใกล้เคียง เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวว่าสามารถเดินทางไปได้ตามเวลาที่ต้องการหรือไม่ และประเด็นเรื่องกิจกรรมที่เสนอแนะควรมีกระบวนการนำเสนอแบบเรื่องราวต่อเนื่องกัน เพื่อส่งเสริมการสื่อความหมายเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สอดคล้องกัน มีความน่าสนใจ และถ่ายทอดเรื่องราวได้ในวงกว้าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กรกช ขันธบุญ .(2562) การพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟนโดยใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริงสำหรับการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์เสนอบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ. พิษณุโลก.
จิรวัฒน์ วัฒนาพงษ์ศิริ. (2558) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ด้วยการจัดแสดงออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อความหมายด้วยภาพของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
ธกฤต เฉียบแหลม.(2560) แผนงานการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่เพื่อตอบสนองการใช้งานของกลุ่มนักท่องเที่ยว ผู้ใช้อุปกรณ์พกพาชนิดสมาร์ตโฟนและแท็ปเลต. กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ธวัชชัย ศรีพรงาม. (2558) การพัฒนาระบบคลังรูปภาพที่สื่อความหมายทางด้านอารมณ์ความรู้สึก ในบริบทของคนไทย. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา . จังหวัดชลบุรี.
ธารนี นวัสนธี. (2557). รูปแบบกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ นวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิทัศน์ วงศ์ธนาวดี .(2558) การสื่อความหมายทางวัฒนธรรมภายใต้โครงการ จากงานวิจัยสู่อุทยานการเรียนรู้ .วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์. (2558) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อรองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดชลบุรี. ทุนอุดหนุนการวจัยคณะรัฐศาสตร์ ปีงบประมาณ 2558 .คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร
พนิตนาฏ ไชยสาร. (2559) แนวทางการพัฒนาระบบสื่อความหมายธรรมชาติเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววนอุทยานภูลังกา จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ภัทรมน กล้าอาษา และ สุรชาติ บัวชุม. (2559) รูปแบบการท่องเที่ยวจากข้อมูลการแบ่งปันข้อมูลบนเว็บไซต์สังคมออนไลน์ ด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล กรณีศึกษาจังหวัดชัยนาท. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. กรุงเทพมหานคร
เศวตฉัตร นาคะชาต และประสิทธิ์ กุลเทพหม. (2559) แนวทางการพัฒนาศักยภาพการสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในวิถีวัฒนธรรมโหนดนาเล ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เพื่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา.
สุภาพรรณ พาบุและคณะ (2559) การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมในจังหวัดสุรินทร์ด้วยกระบวนการจัดการความรู้. งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2558 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์. จังหวัดสุรินทร์
Lin, J & Cantoni, L. (2018). Decision, Implementation, and Confirmation : Experiences of Instructors behind Tourism and Hospitality MOOCs. International Review of Research in Open and Distributed Learning Volume 19, Number1 February 2018.
Gjosaeter.T.(2015).Interactive with mobile augmented reality (Doctoral dissertation). Norway : University of Bergen.
Sutono, et al. (2018). Exploration of Marine Tourism in North Sumatra: An Analysis of Promoting Tourism. Journal of Social Studies Education Research. 2018:9 (4), 185-197 https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1199081.pdf
Guido, M. G. & Iaia, P. L. & Errico, L. (2019). Promoting responsible tourism by exploring sea-voyage migration narratives through ELF: An experiential-linguistic approach to multicultural community integration. Eurasian Journal of Applied Linguistics, 5(2), 219–238. Doi: 10.32601/ejal.599240
Tilden, F. (1977). Interpreting our heritage. Chapel Hill: University North Carolina Press.
Tourism Western Australia. (2009). Five A’s of tourism. Australia.Tourism Western Australia.




Translated Thai References
Chaisan,P. (2016). Guidelines for the development of a natural interpretation system to promote tourism in Phu Langka Forest Park Phayao Province. Master of Arts Thesis Major in Hotel and Tourism Management Faculty of Management Science and Information Sciences, Phayao University.
Kantaboon, K. (2018). The Development of Smart Phone Applications Using Augmented Reality Technology for Kamphaeng Phet Historical Park’s Tourism. Thesis D.F.A. in Art and Design, Naresuan University.
Khamlaem, T. (2017) A roadmap for developing applications for historical and cultural tourism in Chiang Mai to respond to the use of tourists Users of mobile devices such as smartphones and tablets. Bangkok Office of the Research Fund (TRF).
Kla-asa, P & Buachum, S. (2016). The Traval Patterns Model Using Data Sharing On Social Media with Data Mining Techniques Case study based Chainat Province. Research and Development Institute, Chandrakasem Rajabhat University, Bangkok.
Nakachat, S. & Kultaphom, P.(2016). Guidelines for The Potential Development of The Creative Tourism Interpretation in The Palm Paddy Sea Cultural Way at Tahin Subdistrict, Sathingpra District, Songkhla Province for The Sustainable Community Based Tourism Management. Faculty of Arts Sriwichai University of Technology.
Navasantee, T. (2014). Patterns of cultural tourism activities for tourism development in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Doctor of Philosophy Thesis Management Tourism and service innovation, Khon Kaen University.
Phabu, S. and Wongphabu, T.(2014). Development Model of Community-Based Tourism Management for Enhance Quality of Life of Communities in Surin Province by Knowledge Management Process. Faculty of Management Technology Department , Marketing Source of Fund, Rajamangala University of Technology Isan, Surin Campus.
Sripornngam, T. (2015). Development of The Thai Affective Picture Bank System. Research and Statistics in Cognitive Science. College of Research and Cognitive Science, Burapha University.
Srisomsub, P.(2015). Creative Tourism Model to Support the Integration of the ASEAN Economic Community : A Case Study of Chonburi Province. Faculty of Political Science funding. Faculty of Political Science Ramkhamhaeng University, Bangkok.
Wattanaponsiri, J. (2015). A Learning Model Using The Synectics Technique With Online Display to Develop Photographic Communication Skills of Undergraduate Students. Department Educational Technology and Communications. Field of Study Educational Technology and Communications. Chulalongkorn University.
Wongthanawadee, N. (2015). The Cultural Interpretation Under The Research Project into Thailand Knoeledge Park (TK PARK). Cultural Management. College of Innovation, Thammasat University.