ทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อการใช้เทคโนโลยี Web 2.0 สำหรับ การเรียนรู้ภาษาในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

Main Article Content

Pisit Jittisukpong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อการใช้
เทคโนโลยี Web 2.0 สำหรับการเรียนรู้ภาษาในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของ
นักศึกษาต่อการใช้เทคโนโลยี Web 2.0 ในการพัฒนาทักษะทางภาษา 3) เพื่อศึกษาเครื่องมือ Web 2.0
ที่นักศึกษาใช้ในการพัฒนาทักษะทางภาษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 1,200 คน จาก 3 คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยี
สารสนเทศ และคณะบริหารธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 219
คน ซึ่งมาจากต่างคณะกันในสถาบันเทคโนโลยีไทย–ญี่ปุ่น ที่ลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน ในภาค
เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดไม่ได้เป็นนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ และได้ถูกเลือกมา
โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและวิธีการสุ่มอย่างง่าย ข้อมูลได้ถูกรวบรวมโดยการใช้แบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์
เชิงพรรณา
ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาได้ตระหนักถึงการมีอยู่ของเทคโนโลยี Web 2.0 ที่ใช้ในการเรียนรู้
ภาษาอีกทั้งนักศึกษายังมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการเรียนรู้ภาษา นอกจากนี้ทักษะที่
นักศึกษาพิจารณาว่าพวกเขาได้รับการพัฒนามากที่สุดจากใช้เทคโนโลยี Web 2.0 คือทักษะด้านการฟัง
ท้ายที่สุดเครื่องมือที่นักศึกษาพบว่าพวกเขาสนใจใช้มากที่สุดในการพัฒนาทักษะทางภาษาคือ YouTube

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ajjan, H., & Hartshorne, R. (2008). Investigating faculty decisions to adopt Web 2.0 technologies: Theory and empirical tests. The internet and higher education, 11(2), 71-80.

Barbara N., & Linda B., (2013). Changing academic teaching with Web 2.0 technologies. Innovations in Education and Teaching International, 51(3), 315-325.

Barrot, J. (2016). Using Facebook-based e-portfolio in ESL writing classrooms: impact and challenges. Language, Culture and Curriculum, 29(3), 286–301.

Chartrand, R. (2012). Social networking for language learners: Creating meaningful output with Web 2.0 tools. Knowledge Management & E-Learning: An International Journal (KM&EL), 4(1), 97-101.

Crane, E. (2012). Using Web 2.0 and Social Networking Tools in the K-12 Classroom. Chicago: American Library Association.

Duffy, P. (2008). Engaging the YouTube google-eyed generation: Strategies for using Web 2.0 in teaching and learning. The Electronic Journal of e-Learning, 6(2), 119-130.

Grant, S. (2016). Peer review process completion rates and subsequent student perceptions within completely online versus blended modes of study. System, 62(1), 93-101.

Holzweiss, A. (2014). Using Tech Tools for Learning with Standards. School Library Monthly, 30(4), 13-17.

Jeng, w., He, D., Jiang., & Zhang, Y. (2012). Groups in Mendeley: Owners ‘descriptions and group outcomes. Proceedings of the Association for Information Science and Technology, 49(1), 1-4.

Kurt, E. V. (2017). Evaluation of the High Learning Contribution of Web 2.0 Practices in University Students Perspective. Journal of Current Researches on Social Sciences, 7(1), 417-434.

Nunan, D. (2000). Second Language Acquisition. Cambridge: Cambridge University Press.

Thomas, M. (2009). Handbook of research on Web 2.0 and second language learning. Hershey, PA: IGI Global Reference.

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st century skills: Learning for life in our times. John Wiley & Sons.