การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนความรักของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ THE CREATION OF CONTEMPORARY THAI DANCE THAT REFLECTS THE LOVE OF GENDER DIVERSITY PEOPLE

Main Article Content

อดิศร มหาสัทธา
ศักย์กวิน ศิริวัฒนกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนความรักของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ นำมาทำเป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนสังคมรสนิยมทางเพศที่มีความหลากหลายมากขึ้น วิจัยจากการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ ทดลองสร้างสรรค์ โดยนำความเชื่อเรื่อง “ด้ายแดง” เป็นความเชื่อของคู่รักตั้งแต่อดีตชาติมาเป็นแรงบันดาลใจในการกำหนดเนื้อหาของผลงานสร้างสรรค์นี้


            ผลการศึกษาพบว่าความเชื่อเรื่อง “ด้ายแดง” สามารถนำเสนอมุมมองความรักของเพศเดียวกันโดยเชื่อมโยงให้เห็นความรักของคนสองคนที่มาจากอดีตชาติ แบ่งการสร้างสรรค์ออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ 1) แนวความคิด 2) เรื่อง 3) รูปแบบ 4) ดนตรี 5) คัดเลือก 6) แต่งกาย การแสดงชุดนี้ได้กำหนดแนวความคิดรูปแบบการแสดงแบบนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย มีเนื้อหาถ่ายทอดเรื่องราวความรักของเพศเดียวกัน นำความเชื่อเรื่อง “ด้ายแดง” เป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินเรื่อง


           การศึกษานี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างความเข้าใจในความรักของเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นประเด็นอ่อนไหว มีทั้งผู้เห็นด้วยและผู้ที่คัดค้าน ผู้วิจัยจึงนำเรื่องราวความเชื่อเรื่อง “ด้ายแดง” มาเป็นแรงบันดาลใจสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนเรื่องราวของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศชุด “ลิขิต”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ธราวรรณ, Bangkok as Gendered and Sexual City: Yes or No ความเป็นเพศในสังคมเมืองกรุงเทพ. Institute for Population and Social Research, Mahidol University

กาญจนา ตวงสุวรรณ. (2556). Gender choice. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, ทัศนศิลปศึกษา

มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ดวงพร ช่างทอง. (2561). บทความการสมรสเท่าเทียมกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) มีพื้นที่แค่ไหนในสังคม

พรนิภา ศรีประเสริฐ. (2565). บทความเรื่อง LGBTQ ความหลากหลายที่ไม่แตกต่างในสังคม สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/kaset/Article/Details/LGBTQ-

มณิศา วศินารมณ์, สวภา เวชสุรักษ์. (2561). บทความการสร้างสรรค์นาฏกรรมตามนโยบายการปกครอง).

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ. กระทู้เรื่องทำความรู้จักLGBTQ+โอบกอดความหลากหลายที่ “ไม่จำเป็นต้องรักษา” สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จากhttps://www.princsuvarnabhumi.com/news/-LGBTQ

ศุภรัตน์ ทวีเลิศวุฒิกุล, อาทิตยา เทวกุล ณ อยุธยา. ( 2564). บทความทางเลือกและปัญหาความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/542

อรรคภณ วชิรวัชร์, และชนิสรา สีรือแสง. (2563). ศึกษาตำนานความเชื่อด้ายแดงแห่งโชคชะตาของชาวจีน.