ความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างเสริมความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ โดยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ แบ่งเป็นเทศบาลเมือง 2 แห่ง และเทศบาลตำบล 35 แห่ง จำนวน 315 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผลคะแนน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า พนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ มีความสุขระดับมาก เมื่อวิเคราะห์
รายปัจจัย พบว่าปัจจัยที่ทำให้พนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษมีความสุขในการทำงานมากที่สุด
คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กร (𝑥̅ = 4.13) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (𝑥̅ = 3.93) และปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการทำงาน (𝑥̅ = 3.92) ทำให้พนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ มีความสุขอันดับท้าย วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กร (β=0.21 t=3.81 p-value=0.00) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพการทำงาน (β=0.18 t=4.48 p-value=0.00) และปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (β=0.15 t=5.14 p-value=0.00) มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และรวบรวมข้อเสนอแนะแนวทางในการสร้างเสริมความสุขในการทำงาน โดยการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus Group) พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ที่ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 รอบการประเมิน (2 ปี) โดยมีแนวทางตามหลักธรรมาภิบาล พัฒนาความรู้ให้พนักงานเทศบาลเพิ่มค่าตอบแทนหรือเงินรางวัลประจำปี เป็นแรงจูงใจและสร้างความสุขในการทำงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มงานมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ. (2563).
ข้อมูล อปท ในจังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2566, จาก http://www.ssklocaladmin.go.th/page.php?id=1651
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ จำกัด.
เทศบาลเมืองกันทรลักษ์. (2566). อำนาจหน้าที่ของเทศบาล. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2566, จาก https://kantharalak.go.th/public/list/data/index/menu/1668
นูร์ปาชียะห์ กูนา. (2562). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มนชนก ชูพรรคเจริญ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพนักงานเอกชนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, เฉลิมพล สายประเสริฐ, พอตา บุนยตีรณะและ วรรณภา อารีย์. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.
อนันท์ พะละหงษ์ และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2558). ความเครียดในการทำงานของพนักงานเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. นครสวรรค์: วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ.
Likert. Rensis, (1932). A technique for the measurement of attitude. Archives of Psychology 140: 1-55. New York: New York University.
Yamane. Taro, (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.