การศึกษาการรับรู้ ความต้องการ และพัฒนาการสื่อสารแบรนด์ปลาใส่อวน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เมธาวี จำเนียร
กรกฎ จำเนียร
ปัญจพร เกื้อนุ้ย
เมธิรา ไกรนที
ตรีฤกษ์ เพชรมนต์

บทคัดย่อ

            ปลาใส่อวนเป็นปลาหมักข้าวคั่ว โดยคำว่าอวนคือ ข้าวคั่ว ที่เอามาหมักตัวปลา จนทำให้มีรสเปรี้ยว เป็นอาหารอัตลักษณ์ของภาคใต้และจังหวัดนครศรีธรรมราช งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จึงมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้และความต้องการเกี่ยวกับปลาใส่อวนของผู้บริโภค จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) เพื่อพัฒนาการสื่อสารแบรนด์ปลาใส่อวน จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 80 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ แบ่งเป็นช่วงอายุ 20-30 ปี 31-40 ปี 41-50 ปี และ 50 ปีขึ้นไป ช่วงอายุละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริโภค โดยแสดงผลการวิจัยในลักษณะพรรณนาความและข้อมูลทางสถิติเพื่อแสดงการเปรียบเทียบ ได้แก่ ความถี่และร้อยละ และผู้ให้ข้อมูลอีกกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการปลาใส่อวน 12 กลุ่ม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบบันทึกผลการสังเกตการณ์ และนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชรู้จักปลาใส่อวน จะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่รู้จัก โดยช่วงอายุที่ไม่รู้จักปลาใส่อวนในปริมาณมากที่สุด คือ อายุ 21-30 ปี สำหรับประเด็นความต้องการของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือ กล่องบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด น่ารับประทานและน่าสนใจ การมีตราสัญลักษณ์ที่ชัดเจน การพัฒนาเป็นอาหารพร้อมรับประทาน การพัฒนาเป็นเมนูอื่น ๆ การจำหน่ายในลักษณะออนไลน์ การพัฒนาเรื่องกลิ่น การทอดที่ไม่กระเด็น การสื่อสารเรื่องความสะอาดและการคงรสชาติความเปรี้ยวให้คงที่ของอาหารประเภทหมัก  2) คณะผู้วิจัยและผู้ประกอบการปลาใส่อวนได้ร่วมกันพัฒนาสื่อภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่สื่อถึงเชิงคุณค่าและเชิงการตลาดของผลิตภัณฑ์ปลาใส่อวน รวมถึงการสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ สื่อป้าย สื่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และสื่อกิจกรรม เพื่อใช้ในการสื่อสารแบรนด์ปลาใส่อวนจังหวัดนครศรีธรรมราชให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิติมา บูรณวงศ์ ศณัทชา ธีระชุนห์ และเกียรติศักดิ์ ยกเส้ง. (2566). การจัดการห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ปลาใส่อวนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(2), 152-169.

นตนน นรานันท์. (2560). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นปลาเนื้อส้ม: กรณีศึกษาบ้านบาตูปูเต๊ะ ตำบลเกาะ ลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. (สาขาวิชาบัณฑิตอาสาสมัคร วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ปริฉัตร มัทมิฬ และคณะ. (2558). ภูมิปัญญาในการแปรรูปปลาเปรี้ยวเพื่อส่งเสริมสินค้าชุมชน กรณีศึกษา: กลุ่มอาชีพปลาเปรี้ยว หมู่ที่ 3 บ้านห้วยหมก ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2565, จาก https://race.nstru.ac.th/home_ex/e- portfolio//pic/ academy/15581383.pdf (nstru.ac.th)

ภัทรภรณ์ แทนดวง. (2565). ของดีอำเภอทุ่งสงปลาใส่อวน. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566, จากhttps://nakhonsistation.com/tag/ปลาใส่อวน-ปลาส้มปักษ์ใต้/

มูลนิธิศุภมิตรแห่งประเทศไทย. (2566). ปลาใส่อวน สร้างอาชีพ แก้ปัญหายากจน. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.worldvision.or.th/about-us/news/jan23/ap23-livelihood/

ฤทธิชัย ผานาค ลักขณา สุกใส และศาสตร์ศิลป์ ละม้ายศรี. (2565). การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ปลาส้มสมุนไพรตามวิถีชุมชนและการฝึก ทักษะอาชีพตามภูมิปัญญาท้องถิ่นบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงและ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 1021-2030.

รุ่งนภา ว่องไวไพโรจน์ และวิศรุต ศิริพรกิตติ. (2563). “ปลาส้ม” ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านไทยยอดนิยม. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566, จาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20200622132612_1_file.pdf

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสุจิตรา เมฆหมอก. (2565). ปลาเปรี้ยว ปลาใส่อวน. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2566, จาก https://oer.learn.in.th/search_detail/result/267665

สมิทธิ์ บุญชุติมา และรุ่งโรจน์ รุ่งวิมลสิน. (2560). กลยุทธ์การสร้างสรรค์เพื่อการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

โสพิศ พงค์รัตน์. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จังหวัดยะลา.

ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อังคณา ชมภูมิ่ง, ตะวัน ฉัตรสูงเนิน และธวัชชัย ชัยธวัชวิถี. (2553). การปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ

ปลาเสม็ดหวายกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดแพร่ และจังหวัดพะเยา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Aaker, D. A. (1996). Measuring brand equity across products and market. California Management Review, 38(3), 2-20.

Keller, K. L. (2003). Understanding brands, branding and brand equity. Interactive Marketing, 5(1), 7-20.

Khare, A. and N. Singh. (2020). Effect of Covid-19 on brands communication strategy impact. International Journal of Research in Business (Management IMPACT: IJRBM), 8(12), 1–8.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. New Jersey: Prentice-Hall.