แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

โชคอนันต์ แสงสุกวาว
สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ
ปรีดี ทุมเมฆ

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลในพื้นที่อำเภอเขมราฐ จำนวน 6 แห่ง โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม จำนวน 230 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วย Independent samples t–test และ One way ANOVA และเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา


                   ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการกระตุ้นทางปัญญามีระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร พบว่า บุคลากรที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลต่างกัน และในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 3) แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร เสนอแนะให้ผู้บริหารเปิดโอกาส ให้บุคลากรในองค์กรได้เสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะด้วยความสนใจและตั้งใจจริง โดยอาศัยการบริหารแบบ มีส่วนร่วม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2564). ข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลในพื้นที่อำเภอเขมราฐ จังหวัด

อุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2565, จาก https://district.cdd.go.th/khemarat

กาญจนา มณีวัฒนภิญโญ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัทนำเข้าและจัด จำหน่ายวัตถุดิบประเภทอุตสาหกรรมโรงหล่อแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

โกวิทย์ พวงงาม. (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ขจรอรรถพณ พงศ์วิริทธิ์ธร และคณะ. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร

สถานศึกษาโรงเรียนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ: เชียงราย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและ

นวัตกรรมท้องถิ่น, 6(6), 1-15.

จินตนา จินดาศรี. (2566). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(1), (มกราคม–กุมภาพันธ์), 401-416.

ณัฐกุล มากทรัพย์. (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต. (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

นันทวัฒน์ ช่องทอง และคณะ. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารธรรมทัศน์, 15(2), (มีนาคม–มิถุนายน), 113-122.

ปิยะมาศ คงทน. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเขตตลิ่งชัน. วารสารนวัตกรรมการบริหารการศึกษา, 1(2), (ตุลาคม–ธันวาคม), 56-66.

ปัญจาภา ส่งเสริม. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(1), (มกราคม–กุมภาพันธ์), 387-400.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขมราฐ. (2564). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอเขมราฐ. อุบลราชธานี: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขมราฐ.

ธุมากร เจดีย์คำ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรี.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

รําไพพรรณี).

ใบบุญ อุปถัมภ์. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 4(1), (มกราคม–มิถุนายน), 15-30.

Adnan, S. N. S. M. and R. Valliappan. (2019). Communicating shared vision and leadership styles towards enhancing performance. International Journal of Productivity and Performance Management, 68(6), (March), 1042-1056.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free Press.

Bass, B. and B. Avolio. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. Thousand Oaks, CA: Sage.

Buil, I. E. Martínez. and J. Matute. (2019). Transformational leadership and employee performance: The role of identification, engagement and proactive personality. International Journal of Hospitality Management, 77, (January), 64-75.

Ng, T. W. H. (2017). Transformational leadership and performance outcomes: Analyses of multiple mediation pathways. The leadership quarterly, 28(3), (June), 385-417.

Northouse, P. (2016). Leadership: Theory and practice. (7th ed.). Thousand Oaks,

California: Sage.

Sharma, M. K. and S. Jain. (2013). Leadership Management: Principles, Models and Theories. Global Journal of Management and Business Studies, 3(3), (Much), 309-318.

Shibru, B. and G. M Darshan. (2011). Transformational leadership and its relationship with subordinate satisfaction with the leader (The case of leather industry in Ethiopia). Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business, 3(5), (September), 686-697.

Singh, S. K. et al. (2020). Green innovation and environmental performance: The role of green transformational leadership and green human resource management. Technological Forecasting and Social Change, 150, 119762.

Veliu, L. et al. (2017). The Influence of Leadership Styles on Employee's Performance. Vadyba / Journal of Management, 31(2), (February), 59–69.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Zhou, S. et al. (2018). Does seeing “mind acts upon mind” affect green psychological climate and green product development performance? The role of matching between green transformational leadership and individual green values. Sustainability, 10(9), (September), 3206.