แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดระยองให้เป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวอินเดีย

Main Article Content

นิธิศ ธรรมแสงอดิภา
สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์
จตุพร สุวรรณสุขุม
บัณฑิต อารอมัน
ซารีฮาน ขวัญคาวิน

บทคัดย่อ

การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดระยองให้เป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดระยองที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอินเดีย และจัดทำแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดระยองให้เป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวอินเดีย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า จังหวัดระยองมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอินเดียกลุ่มครอบครัว ทั้งนี้ รูปแบบการท่องเที่ยวที่เหมาะสมและเป็นไปได้ ได้แก่ 1) กิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล 2) กิจกรรมท่องเที่ยวแบบผจญภัย 3) การจัดงานแต่งงานแบบอินเดีย และ 4) การจัดประชุมนานาชาติและนิทรรศการ โดยแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดระยองให้เป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวอินเดีย ประกอบด้วยการพัฒนา 4 ด้าน คือ 1) การพัฒนาบุคลากร เรื่อง แนวทางการให้บริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวอินเดีย และการพัฒนาทักษะเชฟให้สามารถประกอบอาหารอินเดียได้ 2) การสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดระยอง เพื่อพัฒนาการจัดประชุมนานาชาติและนิทรรศการ รวมถึงเส้นทางท่องเที่ยว 3) การพัฒนาช่องทางการขาย และ 4) การพัฒนาช่องทางการสื่อสารออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566,

จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=521

. (2565). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566, จาก

https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=628

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566,

จาก https://www.mots.go.th/news/category/659

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ผลกระทบของมาตรการ “ซีโร โควิด” ต่อเศรษฐกิจจีน เศรษฐกิจโลก. สืบค้นเมื่อ 31

มีนาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/1002465

กรุงไทยคอมพาส. (2563). Krungthai COMPASS ประเมิน “เราเที่ยวด้วยกัน” กระตุ้นท่องเที่ยวไทยได้ 3.6

– 6.2 หมื่นล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566, จาก

https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_579Research_Note_20_07_63.pdf

แกนจีช กุมาร. (2564, 18 มีนาคม). ผู้ประกอบการร้าน Soni Indian Restaurant Rayong. สัมภาษณ์.

ปรีชา จำปี. (2564, 22 มีนาคม). ผู้จัดการทั่วไป ห้างหุ้นส่วนจำกัด เดสทิเนชั่นสยาม. สัมภาษณ์.

ปิยะดา ควรหา. (2564, 19 มีนาคม). อุปนายกสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดระยอง. สัมภาษณ์.

พิรุณ เหมะรักษ์. (2564, 18 มีนาคม). รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง. สัมภาษณ์.

แพรดาว ฟูพาณิชย์พฤกษ์. (2560). กรอบนโยบายและมาตรการเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่าง

ยั่งยืน: กรณีศึกษาเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(1), 133–158.

รัตนา ชัยกัลยา. (2564). กลยุทธ์การตลาดสีเขียวที่มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของชาวไทย

ในเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 202–213.

วัลลภา ศรีแจ่ม. (2564, 17 มีนาคม). เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย โรงแรมระยอง แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา.

สัมภาษณ์.

สริญทิพญ ทัพมงคลทรัพย์. (2564, 5 พฤศจิกายน). นายกสมาคมท่องเที่ยวเกาะเสม็ด. สัมภาษณ์.

สุวรรณา โคตี. (2564, 19 มีนาคม). ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดระยอง. สัมภาษณ์.

สำนักงานจังหวัดระยอง. (ม.ป.ป.). บทสรุปแผนพัฒนาจังหวัดระยอง พ.ศ. 2561–2564. ระยอง: กลุ่มงาน

ยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดระยอง.

สำนักงานจังหวัดระยอง. (2562). สรุปข้อมูลจังหวัดระยอง 2562. ระยอง: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูล

เพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดระยอง.

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. (2564). COVID-19 ต่อ

ภาคการท่องเที่ยวไทย: ผลกระทบและแนวทางการแก้ปัญหา. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566, จาก

https://www.mots.go.th/download/BannerLink/PBVol01Covid_DigitalEd.pdf

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1),

–29.

Anantamongkolkul, C. (2021). Understanding the Travel Behaviors of Indian Tourists in

Thailand: A Mixed Methods Research Approach. The Journal of Behavioral Science, 16(2), 99–113.

Benu, P. (2022). Number of India’s Ultra-rich Grew 11x in Last Decade. Retrieved 1 April

, From https://www.thehindubusinessline.com/data-stories/data-focus/number-of-indias-ultra-rich-grew-11x-in-last-decade/article65942118.ece

Chincholkar, S. (2019). How do Indian consumers behave when planning a leisure trip?.

Worldwide Hospitality and Tourism Themes, 11(2), 173–184.

Cohen, S. A., G. Prayag, and M. Moital. (2014). Consumer Behavior in Tourism: Concepts,

Influences, and Opportunities. Current Issues in Tourism, 17(10), 872-909.

Financial Express Online. (2022). Indians ready to vacation! What upcoming trends can be

seen among Indian travellers as pandemic worries ease?. Retrieved 1 April 2023, from https://www.financialexpress.com/lifestyle/travel-tourism/indians-ready-to-vacation-what-upcoming-trends-can-be-seen-among-indian-travellers-as-pandemic-worries-ease/2487017

Khan, S. (2019). Travel Lifestyle of Young Indian Students: ‘Gender Distinct’ or ‘Gender

Blurred.’ International Journal of Hospitality and Tourism Systems, 12(2), 17–26.

Knoema. (n.d.). Total population aged 15-24 years. Retrieved 1 April 2023, from

https://knoema.com/atlas/topics/Demographics/Age/Population-aged-15-24-years

Pongajarn, C. (2017). Tourism D

estination Development in Thailand. (Doctoral Thesis,

Wageningen University).

Roy, A. (2018). The Middle Class in India: From 1947 to the Present and Beyond. Education

about Asia, 23(1), 32–37.

Van der Duim, R., C. Ren, and G.T Jóhannesson. (2013). Ordering, Materiality, and Multiplicity:

Enacting Actor-Network Theory in Tourism. Tourist Studies, 13(1), 3-20.

Worldometer. (2023). Countries in the World by Population (LIVE). Retrieved 31 March 2023,

from https://www.worldometers.info/world-population/population-by-country