การสร้างสรรค์สื่อนาฏกรรมแบบบูรณาการที่สะท้อนแนวคิดเชิงจริยธรรม ในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์

Main Article Content

ยุทธนา อัครเดชานัฏ
นิวัฒน์ สุขประเสริฐ
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์สื่อนาฏกรรมแบบบูรณาการที่สะท้อนแนวคิดเชิงจริยธรรมในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสร้างสรรค์สื่อนาฏกรรมเรื่องรามเกียรติ์ จำนวน 3 ตอน ได้แก่ 1) นนทก 2) ศึกไมยราพ และ 3) ศึกสุดท้ายของทศกัณฐ์


            ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์สื่อนาฏกรรมแบบบูรณาการโดยนำแนวคิดและกระบวนการแบบ “ดีไวสท์ เธียเตอร์” มาประยุกต์ใช้ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับนักแสดงเพื่อค้นหาแนวทางสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบใหม่ ทำให้ผู้วิจัยค้นพบแนวทางการสร้างผลงานสื่อนาฏกรรมที่สะท้อนแนวคิดเชิงจริยธรรมในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ไปสู่เยาวชนในยุคปัจจุบัน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) สื่อนาฏกรรมแบบละครประกอบนิทาน 2) สื่อนาฏกรรมแบบภาพยนตร์ Live Action และ 3) สื่อนาฏกรรมแบบมิวสิควิดีโอประกอบเพลง ผู้วิจัยออกแบบสื่อนาฏกรรมทั้ง 3 ตอน โดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 6 ประการ ได้แก่ 1) รูปแบบการแสดง 2) บรรยากาศ 3) การออกแบบลีลา 4) การออกแบบเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การแสดง 5) การออกแบบบทการแสดงและดนตรีประกอบ และ 6) การผลิตสื่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานสื่อนาฏกรรมด้วยกระบวนวิธีการใหม่ ๆ มีการค้นหาวิธีเล่าเรื่องรามเกียรติ์ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม รวมทั้งมีการผสมผสานสื่อและศิลปะการแสดงหลากหลายแขนงเข้าด้วยกัน ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ และเป็นแนวทางในการทดลองสร้างสรรค์ผลงานนาฏกรรมอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง วรรณคดีสำหรับจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551.

กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2560). จะสอนวรรณคดีอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดมโนทัศน์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4) (ตุลาคม-ธันวาคม), 203-213.

ชุติมา มณีวัฒนา. (2566, 2 เมษายน). ความคิดเห็นหลังจากรับชมสื่อนาฏกรรมแบบบูรณาการเรื่องรามเกียรติ์. อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. สัมภาษณ์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2557). โขน, คาราบาว, น้ำเน่าและหนังไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.

พรรัตน์ ดำรุง. (2549). โครงการ “เรื่องเก่าเล่าใหม่ 4: สีดา-ศรีราม?” [รายงานการวิจัย]. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2554). นามานุกรมรามเกียรติ์ ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

วรัญญู วิจารณ์. (2561). การวิเคราะห์เนื้อหาและบทบาทการขัดเกลาทางสังคมของภาพยนตร์โทรทัศน์ ชุด “ขบวนการยอดมนุษย์ 5 สี”. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค.

Orlando, J. (2019). What is ‘Devised Theatre’?. From https://thisstage.la/2019/11/devised-theatre/.