แนวคิดการสอนแบบคาร์ล ออร์ฟเพื่อเด็กระดับปฐมวัยโรงเรียนเด่นไชยประชานุกุล จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
แนวคิดการสอนแบบคาร์ลออร์ฟเพื่อเด็กระดับปฐมวัย ซึ่งสำคัญกับวัยนี้ การสอนดนตรี สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดคาร์ลออร์ฟมีการนำการเคลื่อนไหวร่างกายในการสอนดนตรีวิธีการสอนดนตรีของคาร์ล ออร์ฟ ไม่ได้ให้ผู้เรียนเล่นดนตรีเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการสอนเพื่อพัฒนาทักษะในหลาย ๆ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายมีการจดจำทำนองเพลงตามการเคลื่อนไหวของร่างกายซึ่งสามารถช่วยในการสร้างพัฒนาการ จำแนกลำดับขั้นตอน และกระบวนการความคิดเพื่อมีลักษณะนิสัย และบุคลิกภาพที่ดีของเด็กและยังสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต อีกทั้งการสอนดนตรีตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ จะให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมกับกำหนดจังหวะเอง และมีความเชื่อมโยงและส่งเสริมซึ่งกันและกันซึ่งมีสิ่งสำคัญอีกหนึ่งเรื่องที่ขาดไม่ได้ คือการเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกการเล่นแบบฉับพลัน หรือที่เรียกว่าการด้นสด ฝึกการแต่งทำนองเพลงง่าย ๆ ซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีทั้งทางด้านดนตรี และด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ทำให้เด็กมีความเข้าใจดนตรีและเล่นดนตรีได้อย่างมีความสุข และจากประสบการณ์ที่เด็กได้ทำสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ ดนตรีในขั้นสูงขึ้นไป แนวทางการจัดกิจกรรมตามแนวคิดคาร์ล ออร์ฟ มีการนำทักษะดนตรีเข้ามาบูรณาการกับกิจกรรมต่าง ๆ ในการสอนการมีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งปลูกฝังกระบวนการความคิดเพื่อมีลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพที่ดีของเด็ก และยังสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคตได้ดี จุดเด่นของการเรียนการสอนดนตรีแบบนี้คือการนำเอาธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเด็กออกมาใช้ ซึ่งธรรมชาติของเด็ก ๆ รักและสนุกที่จะกระโดดโลดเต้น ฟังเพลง ตบมือไปกับจังหวะเพลง และร้องเพลงสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้เป็นบทเริ่มแรกของการเรียน การสอนดนตรีสำหรับเด็กโดยให้เด็กได้ฟัง ได้ร้องและเล่นดนตรี ก่อนที่จะเริ่มการอ่านการเขียน ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการเรียนภาษาของมนุษย์นั่นเอง โดยมีการวัดและประเมินผล วัดจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ การมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในครอบครัว เพื่อนร่วมห้องเรียนมีการประเมินโดยผ่านการสังเกตและบันทึกผลจากผู้ปกครอง และผู้สอนโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มความสามารถทางด้านดนตรี และความภาคภูมิใจในตนเองตั้งแต่เด็ก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เชษฐพงศ์ รอตฤดี. (2562). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านดนตรี ตามแนวการสอนของ
ออร์ฟและดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรุ่งอรุณ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
วารุณี สกุลภารักษ์. (2562). ดนตรีและกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย. วชิรเวชสารและวารสาร
เวชศาสตร์เขตเมือง, 63(3), 203-208.
DeNora, T. (2000). Music in everyday life. London: Ashgate.
Fahmie, D. (2000). Musical playtime for developing young minds. In the MEA state editors
(Ed.), Spotlight on early childhood music education: Selected articles from
state MEA journals (pp.32-34). Reston, VA: The National Association for Music
Education.
Forrai, K. (1990). Music in preschool. (2nd ed). Budapest: Franklin Prining House.
Shamrock, Mary. (1990). “Schulwerk and folk heritage” Begegnungen:Orff–Schulwerk
International, Orff –Schulwerk Forum Salzburg.