แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนากีฬามวยไทยของจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนากีฬามวยไทยในจังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าค่ายมวยไทย จำนวน 15 คน โปรโมเตอร์จัดการแข่งขัน จำนวน 10 คน และนักมวยไทยจำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนากีฬามวยไทยจากหัวหน้าค่ายมวยไทยในจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าค่ายมวยไทยต้องมีความเป็นธรรมกับนักมวยและผู้ฝึกสอนอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การบริหารจัดการด้านรายได้ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความชัดเจน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักกีฬามวยได้พัฒนาตัวเองอย่างเต็มศักยภาพ การบริหารจัดการค่ายมวย ความสะอาด ความปลอดภัยต่อนักกีฬาขณะทำการฝึกซ้อม ต้องมีอุปกรณ์กีฬามวยเพียงพอได้มาตรฐาน 2) แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนากีฬามวยไทยจากโปรโมเตอร์จัดการแข่งขันในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า โปรโมเตอร์ควรจัดสถานที่ในการแข่งขันกีฬามวยไทยให้มีความสะดวก การจัดสภาพแวดล้อม สถานที่จัดการแข่งขันให้มีความน่าสนใจ โปรโมเตอร์จัดการแข่งขันจะต้องมีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นกลางกับนักกีฬาทั้งสองฝ่าย มีการส่งเสริมการจัดการแข่งขันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้นักกีฬาได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง ส่งเสริมสนับสนุนนักมวยที่มีความสามารถให้มีชื่อเสียงและรายได้มากขึ้น 3) แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนากีฬามวยไทยจากนักกีฬามวยไทยในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า การส่งเสริมให้นักกีฬามวยไทยได้เล่นกีฬาควบคู่กับโอกาสทางการศึกษา ส่งผลในอนาคตหลังจากเลิกเล่นกีฬาเพื่อนักกีฬาจะได้มีอาชีพหรืองานที่มั่นคง การเข้าร่วมการแข่งขันควรมีค่าตอบแทนให้กับนักกีฬาอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดแรงจูงใจ สถานที่ฝึกซ้อมสำหรับผู้ที่สนใจควรมีให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงได้ง่าย ควรจัดให้มีการแข่งขันเพื่อให้นักกีฬาได้เข้าร่วมแข่งขันอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนด้านอุปกรณ์การฝึกซ้อมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน หัวหน้าค่ายมวย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีสวัสดิการที่ดีแก่นักมวย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ. 2560-2564 (ฉบับที่ 6). กรุงเทพฯ:
ไทยมิตรการพิมพ์.
ฉัตรกมล ปิยจารุพร. (2562). การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้าน
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์กร
มหาชน).
ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล. (2554). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชามวยไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. วารสารศิลปกรศึกษาศาสตร์วิจัย,
(2), 274-286.
ไตรลักษณ์ คำนิล. (2546). แรงจูงใจของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา
มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 30. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธาวุฒิ ปลื้มสำราญ. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการกิจกรรมกีฬามวยไทยเพื่อสร้างเจตคติที่เอื้อต่อ
การเสริมสร้างความมั่นคง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ 2553. (2553, 4 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม127
ตอนที่ 69 ก. หน้า. 23-39.
วินัย พูลศรี. (2555). การจัดการมรดกภูมิปัญญาของชาติไทยสู่รูปแบบธุรกิจสากล.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต. สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
วีระ กัจฉปคีรินทร์. (2557). มวยรูปแบบการบริหารจัดการอนุรักษ์ไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎี
บัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).