ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่นของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z

Main Article Content

กัญญาณัฐ ต่อสกุล
ชญาดา ฉัตรรวี
รัชกานต์ ทัสสะ
ชนัญญา สรีระศาสตร์
ทัชชกร สัมมะสุต

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งานที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสมัครสมาชิก All member  ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z โดยทำการรวบรวมแบบสอบถามจากประชากรกลุ่มตัวอย่างเจนเนอเรชั่น Z ที่มีอายุระหว่าง 18-26 ปีและเป็นผู้ที่สมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจนเนอเรชั่น Z ที่สมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation of Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) การวิเคราะห์สถิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาพบว่า จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 405 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.30 มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 61.70 มีรายได้ 10,000-25,000 บาทร้อยละ 54.80 และมีสถานภาพโสดร้อยละ 94.10 ด้านพฤติกรรมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เข้าร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น 4-6 ครั้ง/สัปดาห์ร้อยละ 43.5 ซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มร้อยละ 89.1 มีการใช้จ่ายครั้งละ 100-300 บาทร้อยละ 65.7 มีการซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีแต้มโปรโมชั่นให้แต้มสะสม All member เป็นบางครั้งร้อยละ 50.1 มักสะสมคะแนน All member เป็นประจำร้อยละ 72.3 และชำระเงินผ่านแอพพลิเคชันเซเว่นอีเลฟเว่นเพื่อง่ายต่อการสะสมคะแนน All member เป็นประจำร้อยละ 46.9 และจากผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ทั้งปัจจัยด้านด้านการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และปัจจัยด้านความไว้วางใจมีอิทธิพลต่อความตั้งใจสมัครสมาชิก All member  ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z ทั้งสิ้นอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษมา จินกูล. (2562). การรับรู้ความเสี่ยงและความไว้วางใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการทำธุรกรรม

ทางการเงินผ่านธนาคารบนมือ ถือของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

กัญจนพร ลิ้มผ่องใส. (2564). ทัศนคติ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน และคุณภาพการ

ให้บริการที่มี อิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการบริษัทขนส่งอาหารออนไลน์ของร้านอาหารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

จรรยา ฉลาดแย้ม. (2560). การรับรู้ประโยชน์ แรงจูงใจด้านอารมณ์ความรู้สึก ความคุ้มค่าของเงิน

สุนทรียภาพใน การออกแบบ และการใส่ใจในสุขภาพที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อแอปเปิ้ล วอทช์ (Apple Watch) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครการค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ฐิตารีย์ ศิริมงคล. (2564). แบบจำลองแนวคิดและข้อเสนอแนะเบื้องต้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้

ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผสมผสานระหว่างกรอบแนวคิด TOE-TAM. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), (มกราคม-เมษายน 2564),

ณรงค์ชัย แก้ววิริยะกิจกูล และยุวรินธร ไชยโชติช่วง. (2566). ปัจจัยด้านการรับรู้ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ

สินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา Tops Online. วารสาร มจล อุบลปริทรรศน์, 8(3), (กันยายน-ธันวาคม 2566),

ณัฐภูมินทร์ ตาอินบุตร และนภาวรรณ เนตรประดิษฐ์. (2561). การรับรู้ และความไว้วางใจที่ส่งผลต่อการ

ตัดสินใจใช้ระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561),

ทัชชกร สัมมะสุต และงามสิริ วิฑูรย์พันธุ์. (2564). ปัจจัยที่มีผล ต่อการตัดสินใจใช้บริการกระป๋าเงิน

อิเล็กทรอนิกส์ True Wallet ในเขตเมืองพัทยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564),

ทัชชกร สัมมะสุต และจารุพร ตั้งพัฒนกิจ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งานแพลตฟอร์มทิน

เดอร์ (Tinder) ของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials ในประเทศไทย. วารสารศรีวนาลัยมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), (มกราคม-มิถุนายน 2566),

นฤมล ยีมะลี. (2560). การรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ และการสื่อสารแบบปากต่อปาก

ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-word of Mouth) ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันชมภาพยนตร์ และซีรีส์ของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

เนตรชนก เพชระ และธนายุ ภู่วิทยาธร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจกับความตั้งใจซื้อของ

ลูกค้า บริษัท สิริสินเทเลคอม จํากัด ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

ปราณปรียา ดาวศิริโรจน์. (2565). การศึกษาวิจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน

Gamefi ของผู้บริโภคกลุ่มสังคมออนไลน์ในประเทศไทย. (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ศิริศักดิ์ บุญรักษา. (2564). คุณภาพการบริการและการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ของนายหน้าประกันวินาศภัย

ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ความเชื่อถือไว้วางใจ และการตัดสินใจซื้อซ้ำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

สมฤดี ทองรักษ์. (2561). คุณภาพระบบ การรับรู้ประโยชน์การใช้งาน การรับรู้ความปลอดภัย และความ

ไว้วางใจ ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

สุนันทา หลบภัย. (2559). การรับรู้ถึงความปลอดภัย ประโยชน์การใช้งาน และความง่ายในการใช้งานที่มี

ผลต่อการใช้บริการชำระเงินผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

หงส์ณัญญา ด้วงโสน และจรัญญา ปานเจริญ. ทัศนคติและความไว้วางใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อประกันชีวิต

และประกันสุขภาพผ่านช่องทางตัวแทนแบบออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 37(2), (เมษายน-มิถุนายน 2566),

Katalyst. (2019). Big Data คืออะไร นำมาใช้ประโยชน์กับอะไรได้บ้าง. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน

, จาก https: //katalyst.kasikornbank.com/th/blog/Pages/what-is-big-data.html.

Maguire. (2021). ทำไม Gen Z ถึงสำคัญต่อแบรนด์ ในเรื่องการตลาด ในมุมมององวีซ่า. สืบค้นเมื่อ 19

พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.marketthink.co/14167

Stanley,J.C. & Hopkin,K.D. (1972). Educational and Psychological Measurement and

Evaluation. New Jersey: Hall,Inc

Wisesight. (2022). Data-Driven Marketing คืออะไร ช่วยธุรกิจได้อย่างไร. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน

, จาก https://wisesight.com/th/news/data-driven-marketing/