การพัฒนาหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Main Article Content

ศักดา บุญยืด

บทคัดย่อ

                  การพัฒนาหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ เพื่อที่จะต้องการสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สภาพปัญหา และความต้องการเข้าศึกษาต่อของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต โดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิตจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 1) หอการค้าอุบลราชธานี 2) สมาคมอุบลวินิช 3) กลุ่มศิลปินอุบลราชธานี 4) อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี 5) สถานศึกษา 6) วัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี 7) นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาอุบลราชธานี 8) นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย 9) นักศึกษาปัจจุบัน 10) บัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์ 11) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทัศนศิลป์ และ 12) ผู้ปกครองของนักศึกษา ในเขตพื้นที่บริการของวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 80 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ นำมาสู่การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและมีความเหมาะสมในการจัดการศึกษาด้านทัศนศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามความต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ส่วนมากจะเป็นนักเรียนหญิงมากกว่านักเรียนชาย ที่ต้องการเข้ามาศึกษาในสาขาวิชาทัศนศิลป์ และจากการสัมภาษณ์ท่านคณะกรรมผู้ทรงคุณวุติ ในเรื่องของการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาทัศนศิลป์ ทำให้เห็นความคิดของกรรมการแต่ละท่านที่มีความคิดแต่ต่างกันออกไป กรรมการแต่ละท่านส่วนมากจะให้ความคิดเห็นที่จะเน้นไปทางศิลปะกับการเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ทันกับยุคสมัยมากขึ้น และการผลิตบัณฑิตเพื่อในการรับใช้สังคมควรที่จะปลูกฝังให้เรียนรู้จะการรักศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของเมืองอุบลราชธานี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เมธี ปีลันธนานนท์. (2523). การออกแบบการสอนแผนพัฒนาการสอนและรายวิชา. กรุงเทพฯ:

โอเดียนสโตร์.

ลักขณา สริวัฒน์. (2548). การศึกษารายกรณี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์. (มปป). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2562). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ประสานการพิมพ์.

สุจิตรา รณรื่น. (2538). ศาสนาเปรียบเทียบ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.