ภาพแทนของตัวละครผู้สูงอายุในวรรณกรรมสำหรับเด็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาวรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทหนังสือภาพสำหรับเด็กจากหลากหลายประเทศจำนวน 14 เรื่อง เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กจากต่างประเทศซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทย 7 เรื่อง และวรรณกรรมสำหรับเด็กที่เขียนโดยนักเขียนไทย 7 เรื่อง ผู้วิจัยเลือกศึกษาจากเรื่องที่ปรากฏตัวละครผู้สูงอายุมีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่อง โดยศึกษาในประเด็นการนำเสนอเนื้อหาและภาพแทนของตัวละครผู้สูงอายุในวรรณกรรมสำหรับเด็ก ผลการศึกษาพบ 1) เนื้อหาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันกับคนต่างวัย 2) เนื้อหาเกี่ยวกับความรัก และความผูกพันของคนต่างวัย และ 3) เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของผู้สูงอายุทั้งทางสุขภาพร่างกายและลักษณะทางอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุ ด้านการนำเสนอภาพแทนของผู้สูงอายุในวรรณกรรมสำหรับเด็ก วรรณกรรมสำหรับเด็กเสนอให้เห็นในประเด็นดังต่อไปนี้คือ 1) ผู้สูงอายุคือผู้เป็นที่พึ่งพิงทางร่างกายและจิตใจ 2) ผู้สูงอายุคือผู้เข้าใจและแสดงให้เห็นสัจธรรมของชีวิต 3) ผู้สูงอายุคือผู้ถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และ 4) ผู้สูงอายุคือผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรม การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ศึกษาจากวรรณกรรมสำหรับเด็ก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเป็นเครื่องมือสื่อสารกับเด็ก และเตรียมพร้อมเด็กเมื่อต้องใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุ เพื่อให้เด็กสามารถชีวิตร่วมกับผู้สูงอายุอย่างเข้าใจ ตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ และชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของผู้สูงอายุที่มีในครอบครัว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลชนก. (2566). ใครปลอมตัวเป็นยายฉัน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์. (2557). สมบัติล้ำค่าของตายาย. กรุงเทพฯ: อันนาบุ๊ค.
เกศินี จุฑาวิจิตร และคณะ. (2557). ผู้สูงอายุและสัมพันธภาพกับครอบครัว: ภาพสะท้อนจากวรรณกรรม
ไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 33(1), 53-54.
โกะมิ ทะโร. (2566). วิธารณี จงสถิตย์วัฒนา แปล. หนูอยากเจอคุณยาย. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
คุณแม่เอง. (2565ก). คุณตาคุณยายของปิงปิง. กรุงเทพฯ: พาสเอ็ดดูเคชั่น.
. (2565ข). ปิงปิงรักอากงอาม่า. กรุงเทพฯ: พาสเอ็ดดูเคชั่น.
จตุพร เจริญพรธรรมา. (2560). ตัวละครผู้สูงอายุในนวนิยายของชมัยพร แสงกระจ่าง. (วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ).
จิราภา แก้วประทุม. (2564). การศึกษาภาพสะท้อนทางสังคมของผู้สูงวัยในวรรณกรรมเยาวชนของ
ชมัยภร แสงกระจ่าง. ใน รุ่งภัสสรณ์ ศรัทธาธนพัฒน์ (บ.ก.). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ หัวข้อ "ภาษาและวัฒนธรรมไทยในวิถีโลกใหม่" (น.779-798). กรุงเทพฯ: รามคำแหง.
จียองมิน. จอย คาวลีย์ แปล. (2559). เมื่อหัวใจสลาย. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สานส์.
ชีราโอโล, และซีโมนา วิภาดา สุทธิโรจน์ แปล. (2564). ริ้วรอยบนหน้าคุณยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
แพทริเซีย ทอห์ต. ลลิตา ผลผลา แปล. (2566). อยากอยู่ด้วยกันทุกวันเลยนะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์คิดส์.
พอล รัสเซลล์ และ นิคกี้ จอห์นสตัน. ( 2561). คุณย่าขี้ลืมของหนู. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.
มนสิการ กาญจนะจิรา, สุภรณ์ จรัสสิทธิ และชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา. (2555). เกษียณเมื่อไหร่ใคร
กำหนด ใน กุลภา วจนสาระและคณะ. ประชากรชายขอบความเป็นธรรมในสังคมไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.
มาริสา สำลี. (2550). ตัวละครผู้สูงอายุในนวนิยายไทย พ.ศ. 2525-2548. (วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหา
บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
รัญวรัชญ์ พูลศรี. (2553). ความสุขของสตรีสูงวัยในนวนิยายไทยระหว่าง พ.ศ. 2525-2552.
(วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
วิชช์ เกษมทรัพย์. (2564). พร้อมหรือไม่กับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566,
จาก https://op.mahidol.ac.th/ga/posttoday-22-2/
วิภาวี จันทรวงศ์. (2565). ของขวัญของคุณปู่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เพอลังอิ พับลิชชิ่ง.
ศรีสุดา พรมทอง. (2550). วิถีชีวิตและวัฒนธรรมพื้นบ้านกับการสืบสานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง
อนุรักษ์ของหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย. (วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต).
สุภลักษณ์ พูนสินบูรณะกุล. (2565). ความจำยาวของปู่ขี้ลืม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้องเรียน.
. (2563). ฉันกับยายคล้าย ๆ กัน. กรุงเทพฯ: ห้องเรียน.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). ปี 65 ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์.
สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.thaihealth.or.th
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้าน.
นนทบุรี: สุโขทัยธรรมธิราช
โอสะมะ นิชิคาวะ. (2565). สุนันท์ ลีลาผาสุก แปล คุณตากับผีน้อยทั้งสิบ ของขวัญมหัศจรรย์. กรุงเทพฯ:
นานมีบุ๊คส์.
เฮสต์, ปิมม์ ฟาน. (2564). คุณปู่ หลังความตายเป็นอย่างไรนะ?. แปลจาก Misschien is doodgaan
wel hetzelfdw al seen vlinder worden โดย วารยา ศุภศิริ. กรุงเทพฯ: วายเอฟคัลเจอร์.