มุมมองของนักท่องเที่ยวชาวลาวที่มีต่อศักยภาพขององค์ประกอบทางการท่องเที่ยว เมืองชายแดนของจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สุวภัทร ศิริธรรมะสกุล
เขมจิรา หนองเป็ด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพขององค์ประกอบทางการท่องเที่ยวเมืองชายแดนของจังหวัดอุบลราชธานีในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวลาว คณะผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ในพื้นที่อำเภอโขงเจียม และอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามใช้สำหรับสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวลาว จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ซึ่งคัดเลือกกลุ่มประชากรนักท่องเที่ยวชาวลาวที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา แนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคิดองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพขององค์ประกอบทางการท่องเที่ยวเมืองชายแดนจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แยกตามรายด้าน พบว่า ด้านการเดินทาง/คมนาคมขนส่ง มีศักยภาพสูงสุด รองลงมาคือ ด้านที่พักแรม แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ตามลำดับ จากผลการวิจัย คณะผู้วิจัยเสนอแนวทางการพัฒนาองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวเมืองชายแดนจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ 1) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้โดดเด่นและสะท้อนภาพลักษณ์เมืองชายแดน 2) ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวที่สะท้อนวิถีชีวิตเมืองชายแดน 3) พัฒนามาตรฐานที่พักแรม ทั้งด้านความสะอาด ความปลอดภัย และคุณภาพการบริการ 4) เพิ่มความหลากหลายของยานพาหนะในการเดินทางท่องเที่ยว และ 5) พัฒนาแผนที่ท่องเที่ยวเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวผ่าน Mobile Application และป้ายแผนที่ท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี. (2562). แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี.

สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.tatubon.org/

คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา, กฤติกา สายณะรัตร์ชัย และอัญชัญ ตัณฑเทศ. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาเมือง

ท่องเที่ยวชายแดนแม่สอด. วารสารการเมืองการปกครอง, 11(2), 212-214.

ชไมพร กรัญชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการนําเที่ยวข้ามชายแดนไทย-ลาว ของ

นักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 5(3),

-130.

ชัยณรงค์ ศรีรักษ์. (2563). พฤติกรรมการท่องเที่ยวข้ามแดนผ่านจุดผ่อนปรนชั่วคราวของนักท่องเที่ยวชาว

สปป. ลาวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

ชัยสงคราม สุขธรรมวงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวลาว.

(วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ณัฎฐกิตต์ ตันสมรส. (2551). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวบริเวณด่านชายแดนไทย-ลาว ที่ด่านชายแดนช่องเม็ก

กับด่านชายแดนมุกดาหาร. อุบลราชธานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ธนณัฎฐ์ โชคปรีดาพานิช และไพฑูรย์ มนต์พานทอง. (2566). การศึกษาห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว

ชายแดนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวชายแดนบ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 17(51), 427-428.

ยิ่งลักษณ์ เขมโชติกูร. (2557). รูปแบบพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคชาวลาวที่มีต่อสินค้าไทย.

ขอนแก่น: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง. (2567). สถิติการเดินทางเข้าออกคนต่างชาติ. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์

, จาก https://www.immigration.go.th/immigration_stats

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. (2nd ed). Australia: Hodder Education.

Xiaobo, S. and L. Cansong. (2021). Bordering dynamics and the geopolitics of cross-

border tourism between China and Myanmar. Political Geography, 86(3), 7-8.