การพัฒนาตลาดชุมชนเพื่อรองรับสินค้าเกษตรปลอดภัย: กรณีศึกษาบ้านโทะ ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อรรถพล ศิริเวชพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยในพื้นที่ศึกษา 2) ศึกษาความต้องการของชุมชนในการนำสินค้าเกษตรปลอดภัยเข้าสู่ตลาด และ 3) กำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดชุมชนเพื่อรองรับสินค้าเกษตรปลอดภัยที่เหมาะสมแก่พื้นที่ศึกษา การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน ได้แก่ การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และการระดมความคิดเห็น กับกลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูลสำคัญจาก 3 ภาคส่วนที่มีการคัดเลือกแบบเจาะจง คือ เกษตรกรบ้านโทะ หมู่ 8 ผู้ประกอบการที่รับซื้อสินค้าเกษตรปลอดภัย และหน่วยงานภาครัฐในอำเภอห้วยทับทัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา


ผลการศึกษาจำแนกได้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1) สภาพปัจจุบันของการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย พบว่า พื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตพืชดั้งเดิมมากสุด 3 อันดับแรก คือ ผลไม้เขตร้อน สมุนไพร ผักพื้นบ้าน ส่วนพืชน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม 2) ความต้องการของชุมชน มี 3 ระยะ คือ ระยะต้นน้ำ (ความต้องการปัจเจก) คือ ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนปัจจัยการผลิต พันธุ์พืช หาตลาด แก้ปัญหาน้ำ และพลังงานทดแทน ระยะกลางน้ำ (ความต้องการมีส่วนร่วม) คือ การเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ระยะปลายน้ำ (ความต้องการมาตรฐาน) คือ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และการรับรองการค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) 3) แนวทางการพัฒนาตลาดชุมชน พบว่า ได้มีการกำหนดการบริหารจัดการ ออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายดำเนินการ (สนับสนุน) ภายใต้ระเบียบการบริหารจัดการตลาด หรือธรรมนูญบ้านโทะ 10 ข้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกาญจน์ บุญประคม. (2557). การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน ตำบล

กลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.

กลุ่มพัฒนากลุ่มเกษตรกร กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร. (2565). แนวทางการ

ส่งเสริมเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในกลุ่มเกษตรกร. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมสหกรณ์.

กังสดาล เชาว์วัฒนกุล. (2560). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในโครงการตลาดเกษตรกร.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ช่อมาลา มานะ. (2558). ศักยภาพการจัดการตลาดผลิตผลทางการเกษตรของกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง

ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เชษฐา จงกนกพล. (2557). รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานเครือข่ายตลาดผักปลอดสารพิษใน

โรงพยาบาลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.

ปรารถนา มินเสน. (2560). การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของการวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของ

ชุมชน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พีรชัย กุลชัย. (2550). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง.

รัชนีกร ปัญญา. (2560). การตลาดสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันใน

อาเซียนอย่างสร้างสรรค์ บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วีระศักดิ์ สมยานะ. (2560). ศักยภาพชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตร

ของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่. (2557). คู่มือพัฒนาสินค้าสู่เกษตรอินทรีย์. เชียงใหม่: สันติ

ภาพแพ็คพริ้นท์.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). มาตรฐานสรางมูลค่าเพิ่มเพื่อการเกษตร

แปรรูปกิจกรรมจัดทำองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ งานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ SME (Knowledge Center). กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (3)

ประเด็น การเกษตร (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. (2557). โครงการตลาดนัดเกษตรกร. กรุงเทพฯ: สำนักฯ.

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). แนวทางการพัฒนาตลาดสินค้า

เกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักฯ. กรมฯ.

สุพัฒตรา คณานิตย์. (2560). ความต้องการของเกษตรกรต่อการได้รับการพัฒนาการเกษตรจากองค์การ

บริหารส่วนตำบลหว้าทอง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหลวง. (2560). ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน. ศรีสะเกษ: องค์การฯ.

Food and Agriculture Organization of the United Nations. (2002). World Agriculture:

Towards 2015/2030. Rome: Patrick Evans.