กระบวนทัศน์สำหรับการขับร้องเพลงไทย

Authors

  • Chaiyathat Sophrakhan สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การขับร้องเพลงไทย, การถ่ายทอดทักษะการขับร้อง, ทฤษฎีการขับร้องเพลงไทย, มโนทัศน์, มโนคติ, กระบวนทัศน์การขับร้อง, Thai vocal singing, Vocal performance skill transmission, Thai singing theory, concept, Imagination, Vocal paradigm

Abstract

บทความนี้ได้เสนอบทวิเคราะห์และกระบวนทัศน์เพื่อเป็นเครื่องมือการสร้างมโนทัศน์การขับร้องเพลงไทยที่จะนำไปถ่ายทอดสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปรียบเทียบหลักการขับร้องเหมือนกับการสร้างบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 10 ประการ และจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานการขับร้อง ได้แก่ ลมหายใจ เสียงวรรณยุกต์ ถ้อยคำ สระและตัวสะกด กลุ่มที่ 2 ระเบียบแบบแผนการสร้างทำนองร้อง ได้แก่ การเอื้อน การเปิด-ปิดคำร้อง จังหวะ ช่องไฟ กลุ่มที่ 3 การเสริมแต่งเพิ่มความประณีตให้กับการขับร้อง ได้แก่ กลวิธีพิเศษ และการสร้างอารมณ์

 

PARADIGM FOR THAI VOCAL SINGING

This article offer an analysis and a paradigm as a means of formulating the concept of Thai vocal singing, which will conveyed to students effectively. By comparison, the singing process is like a house: namely, it consists of 10 principal constituents and resolves itself into three categories. The first category deals with the vocal structure - breath, tones, words, and vowels. The second, the traditional pattern for creating melodies - wordless vocals (Uean), opening, and closing lyrics, rhythm, and gaps. And, finally, the third, the skills enhancing the singing, including some exquisite techniques and emotion.

Downloads

Published

2017-01-01

How to Cite

Sophrakhan, C. (2017). กระบวนทัศน์สำหรับการขับร้องเพลงไทย. Fine Arts Journal: Srinakharinwirot University, 20(2), 2–12. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jfofa/article/view/92899