แนวคิดการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาแบบบูรณาการ: ทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ สำหรับครูศิลปศึกษา

Authors

  • Nattakarn Anantrawan สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

การบูรณาการ, ศิลปศึกษา, ทัศนศิลป์, ดนตรี, นาฏศิลป์, Integration, Arts education, Visual Art, Music, Dance

Abstract

ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระศิลปศึกษา ประกอบด้วยสาระทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ โดยการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาในโรงเรียนมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ศิลปศึกษาจึงเป็นวิชาที่มีบทบาทเป็นแกนกลางในการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์กับวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนรู้ ลดความซับซ้อนในเนื้อหาสาระ และสร้างความเข้าใจได้ด้วยตนเอง แต่การที่จะนำศิลปศึกษาไปบูรณาการกับวิชาอื่น ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชาศิลปศึกษา ซาบซึ้งเห็นคุณค่าของทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์อย่างแท้จริงก่อนที่จะนำศิลปะไปใช้ในการบูรณาการกับความรู้อื่น ๆ ไม่เช่นนั้นการนำศิลปศึกษาไปบูรณาการก็จะไม่เกิดประโยชน์ บทความนี้จึงได้นำเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาวิชาภายในกลุ่มสาระศิลปศึกษาเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูศิลปศึกษานำไปใช้ส่งเสริมให้ผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ จากการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆของศิลปะแต่ละแขนงเข้าด้วยกันซึ่งก็คือหลักการทางศิลปะและองค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ 

 

The Concept of Arts Integrated Learning Management: Visual Art, Music, and Dance for Arts Teacher

According to The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) in part of Arts Education include visual art, music, and dance. The Arts learning management in school aims to develop human being for the students. Hence, the role of arts education is core of learning management by integrated visual art, music, and dance with other subjects such as mathematics, English language, science etc., to solve the problem in the learning process, Simplifying the content, and understanding by oneself. However, for integrated arts with other subjects, the students have to truly understand contents of arts education and appreciate the value of visual art, music, and dance before integrated arts with other knowledge. Otherwise, the integrated arts with other subjects will not benefit. This article proposes the concept of arts integrated learning management to be a guideline for arts teacher to encourage students to achieve the contents of visual arts, music, and dance by linking the artistic disciplines together, which is the principles of art and elements of art. 

Downloads

Published

2016-07-01

How to Cite

Anantrawan, N. (2016). แนวคิดการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาแบบบูรณาการ: ทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ สำหรับครูศิลปศึกษา. Fine Arts Journal: Srinakharinwirot University, 20(1), 68–79. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jfofa/article/view/92918