A Study of Thai Dance Teaching and Learning Environment for The Deaf Students in The Special Education School in Central Area

Authors

  • Rawiwan Wanwichai

Abstract

This research on “The Study of Thai Dance Teaching and Learning Environment for the Deaf Students in the Special Education School in Central Area” is aimed to study the environment of learning and teaching and activities to promote education altogether with problems and hindrances in managing learning and teaching and activities to promote learning of Thai dance for the Deaf students in the education school in central region. These are for radical data as the guidelines to develop managing learning and teaching or to arrange activities to educate Thai dance for the deaf students in the special education school.

Personnel used for this research comprised of executives, teachers or personnel related to management of learning and teaching and providing promotion activities for the knowledge of Thai dance. They are from seven auricular schools for deaf students in the central area, under the Office of Special Education Management, the Bureau of the Board of Radical Education, Ministry of Education. These schools are such as Sretsathira School under the Royal Patronage in Bangkok, Thung Mahamek Auricular School in Bangkok, Nonthaburi Auricular School (Bangbuathong Municipality) in Nonthaburi, Nakorn Pathom Auricular School (Wat Khae Tambol Administration Organization) in Nakhon Pathom, Petchaboon Auricular School (Nahn Koke Tambol Administration Organization) in Petchaboon, Panlert Auricular School in Lopburi, Theprat Auricular School (pongprasart Tambol Administration Organization) in Prachub Khirikhan. Means utilized for data collection consisted of questionnaires, interviews and observations.

The output (result) of the research reveals that auricular schools for deaf students are quite adequate in areas and buildings. They are divided into two categories which one is solely used for classroom of dancing and the other is sharing used for classroom of dancing with other subjects.

For the capacity of equipments and teaching media, they are adequately provided for deaf students. It was found, on the teaching media side, mostly are general media used for regular normal students. Anyhow, some schools have developed innovations and teaching media to be especially used to implement dance teaching.

For personnel development capacity, it was found that dancing teachers are insufficient. Most of them were not directly graduated from dancing academy. There are some who graduated Master degrees in dancing. Anyhow, these schools have promoted and supported their personnel to receive several special trainings to enhance their skills and experiences.

For the capacity of learning, teaching and evaluation, it was found that they arrange learning and teaching in accordant to the courses of Ministry of Education. All this, every schools has adjusted the gist of each subject to suit the development and learning ability of their students. For evaluation, they apply the parallel means in theoretical and practical examinations along with observation, deeming to Individualized Education Program: IEP.

For the parts of problems, hindrances and recommendations for development the essential ones that affect learning and teaching dancing art development are problems on lacking of personnel and personnel development as the utmost and the secondary ones are of the learning and teaching, buildings and places and of the equipments and learning and teaching media respectively.

 

การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนทางด้านนาฏศิลป์ไทยสำหรับเด็กที่มี ความบกพร่องทางการได้ยินในสถานศึกษาพิเศษเฉพาะทาง ในเขตพื้นที่ภาคกลาง

การวิจัยการศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนทางด้านนาฏศิลป์ไทยสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ในสถานศึกษาพิเศษเฉพาะทาง ในเขตพื้นที่ภาคกลาง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอน และ กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ทางด้านนาฏศิลป์ไทยสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในสถานศึกษาพิเศษเฉพาะทาง เขตพื้นที่ภาคกลาง เพื่อ เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนหรือการจัดกิจกรรมเพื่อการ เรียนรู้ทางนาฏศิลป์ไทยสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในสถานศึกษาพิเศษเฉพาะทาง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอนหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ไทย จากโรงเรียนโสตศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ใน เขตพื้นที่ภาคกลาง สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง ศึกษาธิการ จำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์จังหวัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนโสตศึกษา ทุ่งมหาเมฆ จังหวัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนนทบุรี(เทศบาลเมืองบางบัวทอง) จังหวัดนนทบุรี โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม (อบต.วัดแค) จังหวัดนครปฐม โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์(อบต.บ้านโคก) จังหวัดเพชรบูรณ์ โรงเรียนโสตศึกษาปานเลิศ จังหวัดลพบุรีโรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์(อบต.พงศ์ประศาสน์) จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม การสัมภาษณ์และการสังเกต

ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนโสตศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีสถานภาพด้านอาคารสถานที่ เพียงพอ โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ใช้เป็นห้องสำหรับเรียนนาฏศิลป์โดยเฉพาะ และห้องเรียนนาฏศิลป์ที่ใช้เรียนร่วมกับ ห้องเรียนรายวิชาอื่น

สถานภาพด้านอุปกรณ์และสื่อการสอน พบว่า มีการจัดเตรียมอุปกรณ์เสริมการเรียนรู้อย่างเพียงพอสำหรับเด็ก นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ในส่วนของสื่อการเรียนการสอนพบว่าส่วนใหญ่เป็นสื่อการเรียนการสอนทั่วไปที่ใช้ สำหรับเด็กปกติอย่างไรก็ตามบางโรงเรียนได้มีการพัฒนานวัตกรรมและสื่อการสอนเพื่อใช้เสริมการเรียนการสอนทางด้าน นาฏศิลป์โดยเฉพาะ

สถานภาพด้านบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร พบว่า มีจำนวนบุคลากรผู้สอนทางด้านนาฏศิลป์ไม่เพียงพอ บุคลากรส่วนใหญ่ไม่ได้จบทางด้านนาฏศิลป์โดยตรง มีบางส่วนที่จบวิชาโททางด้านนาฏศิลป์ อย่างไรก็ตามโรงเรียนได้ส่ง เสริมและสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรมพิเศษต่างๆ เพื่อเสริมทักษะและประสบการณ์ด้านการสอนนาฏศิลป์และ ศิลปะการแสดงสำหรับเด็กพิเศษ

สถานภาพด้านการเรียนการสอนและการประเมินผล พบว่า จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของกระทรวง ศึกษาธิการ ทั้งนี้ทุกโรงเรียนมีการปรับเนื้อหารายวิชาให้มีความเหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน ส่วน การประเมินผลใช้วิธีควบคู่กันทั้งการสอบวัดความรู้ภาคทฤษฎีภาคปฏิบัติและการสังเกต โดยคำนึงถึงแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล (Individualized Education Program :IEP) เป็นสำคัญ

ส่วนปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อการพัฒนา พบว่า ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลต่อการ พัฒนาการเรียนการสอนทางด้านนาฏศิลป์ คือ ด้านบุคลากรและการพัฒนาบุคลากรมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการเรียน การสอน ด้านอาคารสถานที่ และด้านอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนตามลำดับ

Downloads

Published

2011-12-11

How to Cite

Wanwichai, R. (2011). A Study of Thai Dance Teaching and Learning Environment for The Deaf Students in The Special Education School in Central Area. Fine Arts Journal: Srinakharinwirot University, 13(1), 77–88. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jfofa/article/view/93038