A Study of Melody “Nok Kameen”

Authors

  • Nathatai Pongpitak

Abstract

The purposes of this study are to (1) collect the knowledge body of Thai classical music “Nok Kameen,” (2) to investigate and analyze various context of the knowledge body of Thai classical music “Nok Kameen, and (3) to record the note of Thai classical music” Nok Kameen. The results reveal as follows:

1. Thai classical music “Nok Kameen” has its origin since the Ayudhaya Era with two-level and later appeared with three-lavel music called “Song of Nok Kameen,” and finally extended into threelevel and words by teacher “Peng.” Teacher Montri Tramote collected music as Tao and composed words with two levels and one levels in 1933. Thai classical music “Nok Kameen” is a song played in ritual ceremony, performance, and entertainment.

2. Thai classical music “Nog Kameen” with three-level is a classical music which its level 1 contains 3 front rhythms overlaying level 2 and 2 front rhythms overlaying level 3. It uses key signature of Do (Do1, Do2, and Do3) and Sol (S1, S2, and S3). The relationship between sound of fallen minor and melody translation in “Nok Kameen” with three-level can be summarized as follows:

2.1 Key signature-Do1 gains melody translation both Odd and Keb with 12 melodies.
2.2 Key signature-Do2 gains melody translation both Odd and Keb with 11 melodies.
2.3 Key signature-Do3 gains melody translation both Odd and Keb with 10 melodies.    
2.4 Key signature-S1 gains melody translation both Odd and Keb with 4 melodies.
2.5 Key signature-S2 gains melody translation both Odd and Keb with 10 melodies.    
2.6 Key signature-S2 gains melody translation both Odd and Keb with 5 melodies.
2.7 Key signature-S1 gains melody translation both Odd and Keb with 10 melodies.

3. The researcher collects context of Thai classical music “Nok Kameen” as developed as “Nok Kameen with 2 parts”, “Nok Kameen with 3 parts”, “Nok Kameen Mon”, “Tab Mahoree”, “Solo Nok Kameen,” and “Tao Nok Kameen” as further information.

 

การศึกษาเพลงนกขมิ้น

การศึกษาเพลงนกขมิ้นเป็นการวิจัยโดยใช้หลักวิชามานุษยดุริยางควิทยา โดยมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาไว้ดังนี้

1. เพื่อศึกษารวบรวมองค์ความรู้เพลงนกขมิ้นในบริบทต่างๆ
2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ทางซอด้วงเพลงเดี่ยวนกขมิ้นสามชั้น
3. เพื่อศึกษาและบันทึกโน้ตเพลงนกขมิ้น

ผลการศึกษาพบว่า

1. เพลงนกขมิ้นเดิมเป็นเพลงสองชั้นของเก่าในสมัยอยุธยา เป็นเพลงสามท่อนปรากฏอยู่ในเพลงเรื่องนกขมิ้น ก่อนที่ครูเพ็งจะนำมาขยายเป็นเพลงสามชั้นและเพิ่มให้มีการว่าดอก และครูมนตรีตราโมทเป็นผู้รวบรวมเพลงให้เป็นเถา และประพันธ์บทร้องสองชั้นและชั้นเดียวขึ้นมาในปี2476 เพลงนกขมิ้นเป็นเพลงที่สามารถรับใช้สังคมทั้งบรรเลงสำหรับ พิธีกรรม บรรเลงสำหรับการแสดง และบรรเลงสำหรับขับกล่อม

2. เพลงนกขมิ้น 3 ชั้นเป็นเพลงสามท่อน ท่อนที่ 1 มี 3 จังหวะหน้าทับส่วนท่อนที่ 2 และท่อนที่ 3 มีสอง จังหวะหน้าทับ เพลงนกขมิ้นมีการใช้กลุ่มเสียงในบันไดเสียงโด (ด1, ด2, ด3) และบันไดเสียงซอล (ซ1, ซ2, ซ3, ซ6) โดยมีความสัมพันธ์ของเสียงลูกตกและการแปรทำนองในเพลงเดี่ยวนกขมิ้นสามชั้นโดยสรุปดังนี้

1. บันไดเสียง ด1 มีการแปรทำนองทั้งเที่ยวโอดและเที่ยวเก็บได้ 12 ทำนอง
2. บันไดเสียง ด2 มีการแปรทำนองทั้งเที่ยวโอดและเที่ยวเก็บได้ 11 ทำนอง
3. บันไดเสียง ด3 มีการแปรทำนองทั้งเที่ยวโอดและเที่ยวเก็บได้ 10 ทำนอง
4. บันไดเสียง ซ1 มีการแปรทำนองทั้งเที่ยวโอดและเที่ยวเก็บได้ 4 ทำนอง
5. บันไดเสียง ซ2 มีการแปรทำนองทั้งเที่ยวโอดและเที่ยวเก็บได้ 10 ทำนอง
6. บันไดเสียง ซ3 มีการแปรทำนองทั้งเที่ยวโอดและเที่ยวเก็บได้ 5 ทำนอง
7. บันไดเสียง ซ6 มีการแปรทำนองทั้งเที่ยวโอดและเที่ยวเก็บได้ 10 ทำนอง

3. รวบรวมบันทึกโน้ตเพลงนกขมิ้นทุกบริบท ตามวิวัฒนาการโดยเริ่มจากเพลงนกขมิ้นสองชั้น เพลงนกขมิ้นสาม ชั้น เพลงนกขมิ้นมอญ เพลงนกขมิ้นตับมโหรีเพลงเดี่ยวนกขมิ้น เพลงนกขมิ้นเถา เพื่อเป็นฐานข้อมูลต่อไป

Downloads

Published

2011-12-11

How to Cite

Pongpitak, N. (2011). A Study of Melody “Nok Kameen”. Fine Arts Journal: Srinakharinwirot University, 13(1), 115–131. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jfofa/article/view/93040