Legal Problems regarding examining witnesses in criminal cases by video conference
Abstract
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่องการสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาการสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจะนำไปสู่บทสรุป และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้การสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพมีความเหมาะสมและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
ผลจากการศึกษา โดยการวิเคราะห์ความเหมาะสมและปัญหาการสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พบว่า การสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพยังคงมีปัญหาหลายประการ ดังนี้ ตามความในมาตรา 230/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยการสืบพยานในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ.2556 ไม่มีการกำหนดประเภทของคดีในการสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพไว้ ซึ่งมีความแตกต่างจากหลักเกณฑ์และวิธีการสืบพยานของต่างประเทศ ให้สืบพยานโดยวิธีดังกล่าวในบางประเภทคดีเท่านั้น เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีประสิทธิภาพ เพราะการสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพไม่สามารถค้นหาความจริงได้ดีเหมือนกับการสืบพยาน ในศาล และการกำหนดผู้เป็นสักขีพยานและสถานที่ในการสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพในปัจจุบันนั้นส่งผลให้น้ำหนักคำให้การพยานยังไม่มีความน่าเชื่อถือเท่าที่ควร รวมถึงปัญหาทางเทคนิคที่ยังมีข้อบกพร่อง เหล่านี้ย่อมมีผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย
ดังนั้น จึงควรเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยการกำหนดประเภทคดีที่สามารถสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ การกำหนดให้ผู้พิพากษาเป็นสักขีพยานเพื่อควบคุมดูแลให้การพิจารณาเป็นไปตามข้อบังคับประธานศาลฎีกา และกำหนดให้สามารถสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพที่ห้องพิจารณาของศาลเท่านั้นรวมถึงปรับปรุงระบบการประชุมทางจอภาพที่มีมาตรฐานและทันสมัยในทุกศาลเพื่อให้การสืบพยานบุคคลคดีอาญามีความน่าเชื่อถือ และเป็นพยานที่มีน้ำหนักเพียงพอเทียบเท่ากับการสืบพยานในห้องพิจารณาคดีของศาล
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และกองบรรณาธิการไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นนั้น แต่ประการใด