An Approach to Alternative Imprisonment
Abstract
การวิจัยเรื่องการใช้สถานที่ขังแทนการขังหรือจำคุกในเรือนจำนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้สถานที่ขังแทนการขังหรือจำคุกในเรือนจำที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิใช้มาตรการสถานที่ขังแทนเรือนจำ การลงโทษจำคุกในสถานที่ขังแทนเรือนจำ รูปแบบการควบคุมตัวในสถานที่ขัง สถานที่ขังของเอกชนและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้สถานที่ขังแทนการขังหรือจำคุกในเรือนจำได้อย่างเหมาะสม
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยเอกสารจากการค้นคว้าและรวบรวมจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยจะแบ่งเป็นตามขั้นตอนตั้งแต่การใช้สถานที่ขังกับผู้ต้องหาที่อยู่ในระหว่างสอบสวน จำเลยที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล และนักโทษที่จำคุกตามคำพิพากษาของศาลมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง
จากการศึกษาพบว่าเหตุที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89/1และมาตรา 89/2 ไม่เคยถูกนำมาบังคับใช้เลย เนื่องจากมีความไม่ชัดเจนในเรื่องคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิใช้มาตรการสถานที่ขังแทนเรือนจำ ในต่างประเทศนั้นมีการกำหนดเงื่อนไขต้องห้ามใช้สถานที่ขังกับผู้กระทำความผิดบางกลุ่ม ไว้อย่างชัดเจน คือ ความผิดร้ายแรงบางฐานและมีลักษณะการกระทำความผิดตามที่กำหนดไว้ หรือเป็นการกระทำความผิดซ้ำ จำเลยหรือผู้ต้องหาที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาก็จะสามารถอยู่ในสถานที่ขังและไปทำงานหรือไปเรียนได้ตามปกติโดยติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดตามตัว และยังสามารถที่จะควบคุมตัวไว้ในสถานที่ขังบางช่วงเวลาได้สำหรับในความผิดที่ไม่ร้ายแรง ศาลสามารถที่ลงโทษจำคุกผู้กระทำความผิดโดยจำคุกในสถานที่ขังแทนการส่งตัวไปเรือนจำได้เลย และยังมีการจัดตั้งสถานที่ขังและเรือนจำเอกชนในลักษณะที่รัฐให้เอกชนก่อสร้าง หรือให้สัมปทานในการดูแลโดยที่รัฐยังเป็นผู้ควบคุมอย่างใกล้ชิด โดยแบ่งแยกนักโทษตามวัย เพศ ลักษณะการกระทำความผิด เพื่อมุ่งเน้นในการแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และยังเปิดโอกาสได้ทำงานและนำเงินมาจ่ายค่าเช่าสถานที่ขัง ทำให้ผู้ต้องขังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และกองบรรณาธิการไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นนั้น แต่ประการใด