legal issues about water pollution from community, studied cases of housing estates which were built before and during Estate Development Act, B.E. 2543 (2000) enforcing
Abstract
บทความเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หัวข้อ “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำจากชุมชน ศึกษากรณี : หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นก่อนและขณะใช้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543” มีวัตถุประสงค์ ในการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากชุมชนในหมู่บ้านจัดสรรเพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา แนวคิดและกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางน้ำจากชุมชนในหมู่บ้านจัดสรร เช่น ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 พ.ศ.2515 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขการจัดการมลพิษทางน้ำที่เกิดจากชุมชนในหมู่บ้านจัดสรร
จากการศึกษาพบว่า ปัญหามลพิษทางน้ำของประเทศไทยเกิดจากหลายสาเหตุซึ่งหนึ่งในนั้น คือ มลพิษทางน้ำที่เกิดจากชุมชนในหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งหมู่บ้านจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัยและที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยที่สำคัญของมนุษย์ โดยในปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเป็นที่นิยมของประชาชนเป็นจำนวนมากแต่ผู้ประกอบการไม่ได้คำนึงถึงการจัดทำสิ่งสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้กับหมู่บ้านประกอบกับการสร้างท่อระบายน้ำในหมู่บ้านจัดสรรของประเทศไทยเป็นการสร้างท่อระบายน้ำขึ้นมาเพื่อรองรับการระบายน้ำฝนแต่ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อระบายน้ำที่ผ่านการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรร จึงทำให้เกิดปัญหาการปล่อยน้ำที่ผ่านการใช้แล้วมารวมกับน้ำฝนในท่อระบายน้ำฝนแล้วปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยที่ไม่มีการบำบัด ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ เมื่อหมู่บ้านหลายๆโครงการมีลักษณะเหมือนกันก็จะทำให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากหมู่บ้านจัดสรร ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดความเสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อประเทศชาติในด้านต่างๆ
จากปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนวทางในการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากชุมชนในหมู่บ้านจัดสรร ในกรณีที่หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 แม้ตามประกาศ คณะปฏิวัติจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะไว้ มีการกำหนดเรื่องของการบำบัดน้ำเสียที่ใช้จากครัวเรือนจะต้องมีการบำบัดให้มีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่ามาตรฐานน้ำที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมกำหนดก็ตาม แต่ในความ เป็นจริงก็ยังคงเห็นปัญหามลพิษทางน้ำจากหมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นตามประกาศคณะประวัติฉบับที่ 286 แม้ต่อมาประกาศคณะประวัติฉบับที่ 286 จะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่หมู่บ้านที่สร้างขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติก็ยังคงอยู่ จึงต้องอาศัยบทเฉพาะกาลในมาตรา 70 ของพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ในการเร่งรักษาสาธารณูปโภค ส่วนโครงการหมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ก็ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 แต่ยังมีประเด็นของการตีความว่าระบบบำบัดน้ำเสียจัดว่าเป็น บริการสาธารณะหรือสาธารณูปโภค เนื่องจากมีความแตกต่างกันของเจตนารมณ์ของกฎหมายจึงจะต้องมี การกำหนดความชัดเจนของความหมาย เนื่องจากพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ได้มีการตีความหมายกว้างจนเกินไปจึงขาดความชัดเจนซึ่งอาจส่งผลต่อการจัดตั้งการก่อสร้างการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมทั้ง เมื่อมีการบำบัดน้ำเสียแล้ว ผู้ศึกษาขอเสนอแนวทางในการนำน้ำที่ผ่านการใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่โดยอาศัยหลักการ Reduce Reuse Recycle (3R) มาใช้กับประเทศไทยและนำหลักการดังกล่าวไปกำหนดไว้ ในกฎหมายทั้งยังเป็นการจัดการน้ำเสียโดยไม่ต้องเสียเปล่าและยังเป็นการลดวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ นอกจากนั้นให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรใช้น้ำเท่าที่จำเป็นและน้ำที่ผ่านการใช้แล้วก็จะมีจำนวนลดลงทำให้เกิดมลพิษทางน้ำในหมู่บ้านจัดสรรน้อยลงรัฐบาลควรมีนโยบาย อย่างเช่น การคืนภาษีให้กับครัวเรือนหรือ ในหมู่บ้านที่ดำเนินการดังกล่าว
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และกองบรรณาธิการไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นนั้น แต่ประการใด