The Protection of Geographical Indications and Designations of Origin under the EC Regulation No 1151/2012 on the quality schemes for agricultural products and foodstuffs
Abstract
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน และป้องกันความสบสันหลงผิดของสินค้าประเภทเดียวกันที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์อื่น พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยกำหนดนิยามที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพ หรือชื่อเสียงของสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ แต่ไม่ได้กล่าวถึงขั้นตอนการผลิตต้องกระทำในพื้นที่แหล่งกำเนิดทุกขั้นตอนหรือไม่ สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยจึงได้รับการตีความตามระเบียบประชาคมยุโรป ที่ 1151/2012 เข้าข่ายเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เท่านั้น อันเป็นการจำกัดศักยภาพของสินค้าไทยโดยปริยาย ขณะที่ระเบียบประชาคมยุโรปได้กำหนดขอบเขตการคุ้มครองในลักษณะสิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิดอีกลักษณะหนึ่ง นอกจากนี้ ระเบียบประชาคมยุโรปฉบับนี้ยังให้ความสำคัญต่อระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารซึ่งมีส่วนสำคัญเพื่อยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และสิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิด และยกระดับความน่าเชื่อถือในการแข่งขันมากขึ้นโดยกำหนดหลักเกณฑ์การควบคุมคุณภาพให้หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานควบคุมในการตรวจสอบมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นไปตามระบบมาตรฐานของระเบียบฉบับนี้ ขณะที่พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่จะขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แต่อย่างใด
ดังนั้น ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ในส่วนของนิยามศัพท์ให้ครอบคลุมสิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิด และควรกำหนดคำอธิบายนิยามศัพท์ให้ชัดเจนทั้งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และสิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิด ให้สอดคล้องกับระเบียบประชาคมยุโรป ที่ 1151/2012 ควรเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับควบคุมคุณภาพสินค้าให้มีสภาพบังคับชัดเจนไม่อยู่ภายใต้ดุลพินิจของนายทะเบียน จึงสามารถยกระดับการคุ้มครองให้มีมาตรฐานสากล
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และกองบรรณาธิการไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นนั้น แต่ประการใด