Non-detention measure for female offenders as per Bangkok Metropolis regulations

Authors

  • พันธุ์ทิพย์ นวานุช Huachiew Chalermprakiet University

Abstract

การวิจัยเรื่อง มาตรการไม่ควบคุมตัวผู้กระทำผิดหญิงตามข้อกำหนดกรุงเทพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายและปัญหาการบังคับใช้ ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหามาตรการไม่ควบคุมตัวผู้กระทำผิดหญิงตามข้อกำหนดกรุงเทพ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากบทบัญญัติของกฎหมาย เอกสารต่างๆ กฎกระทรวงตลอดจนข้อกำหนดต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัยพบว่า มาตรการไม่ควบคุมตัวผู้กระทำผิดหญิงจะเป็นการช่วยลดความแออัดในเรือนจำ  จากสถิติในปี 2559 พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนผู้ต้องขังหญิงจำนวนสูงสุดในโลกหรือ 68.2 ต่อประชาชนแสนคน  ทั้งนี้มาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของผู้ต้องขังหญิง ซึ่งมีทั้งผู้ต้องขังที่เป็นนักโทษเด็ดขาด และผู้ต้องขังที่ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดี  ปัญหาที่สำคัญคือการเพิ่มจำนวนของผู้ต้องขังหญิงทำให้เรือนจำ  ไม่สามารถรองรับได้   จึงจำเป็นต้องส่งตัวผู้ต้องขังหญิงไปควบคุมตัวในเรือนจำที่ออกแบบมาสำหรับควบคุมตัวผู้ต้องขังชาย ซึ่งไม่ได้ออกแบบมาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการควบคุมตัวผู้ต้องขังหญิง  ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา  การแก้ไขฟื้นฟู  หรือการฝึกวิชาชีพซึ่งจัดโดยเจ้าหน้าที่เรือนจำส่งผลให้ผู้ต้องขังหญิงต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ซึ่งตามข้อกำหนดกรุงเทพให้ความสำคัญกับการใช้มาตรการ  ที่มิใช่การควบคุมในคดีที่มีการกระทำความผิดไม่รุนแรง  ประกอบกับปัจจัยทางกายภาพที่ไม่เหมาะกับการคุมขังผู้วิจัยจึงเสนอให้ใช้มาตรการดังนี้แทน  1. มาตรการคุมประพฤติแบบเข้ม  2. มาตรการชะลอฟ้อง 3. ทางเลือกอื่นแทนโทษจำคุก 4. เพิ่มช่องทางการปล่อยตัวชั่วคราว 5. เพิ่มอำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจคุมประพฤติ

Downloads

Published

2019-12-07

How to Cite

นวานุช พ. (2019). Non-detention measure for female offenders as per Bangkok Metropolis regulations. Huachiew Chalermprakiet Law Journal, 9(2). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/lawhcu/article/view/228208

Issue

Section

Research Articles